วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

3.5 ประเภทของละคร

ละครสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ละครสากล และละครไทย
ละครสากล
ละครสากลแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้
ละครประเภทโศกนาฎกรรม (Tragedy) เป็นวรรณกรรมการละครที่เก่าแกที่สุด และมีคุณค่าสูงสุดในเชิงศิลปะและวรรณคดี ละครประเภทนี่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศกรีซ และพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ภายใต้การนำของ เอสดิลุส (Aeschylus,525-456 B.C.) โซโปคลีส (Sophocles, 496-406 B.C.) และยูริพิดี(Euripides,484-406 B.C.)เป็นละครที่พยายามตอบปัญหาหรือตั้งคำถามที่สำคัญๆ เกี่ยวกับชีวิตที่องนำมาให้ผู้ชมต้องขบคิดเช่น ชีวิต คืออะไร มนุษย์คืออะไร อะไรผดิ อะไรถกู อะไรจริง ภายใต้จักรวาลที่เต็มไปด้วยความเร้นลับ ละครประเภทนี้ถือกำเนิดจากพิธีทางศาสนา จึงนับว่าเป็นละครที่มีความใกล้ชิดกับศาสนาอยู่มาก แม้ในปัจจุบันละครแทรจิดี ที่มีความสมบูรณ์ยังสามารถให้ความรู้สึกสูงส่ง และความบริสุทธิ์ทางจิตใจได้ด้วยการชี้ชวนแกมบังคับให้ มองปัญหาสำคัญ ๆ ของชีวิต ทำให้ได้ตระหนักถึงคุณ ค่าของความเป็นมนุษย์ กล้าเผชิญความจริงเกี่ยวกับตนเองและโลก และมองเห็นความสำคัญของการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าสมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ลักษณะสำคัญของละครประเภทโศกนาฎกรรม
1. ต้องเป็นเรื่องที่แสดงถึงความทุกข์ทรมานของมนุษย์ และจบลงด้วยความหายนะของตัวเอก
2. ตัวเอกของแทรจิดีจะต้องมีความยิ่ง ใหญ่เหนือคนทั่ว ๆไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีข้อบกพร่อง
หรือข้อผิดพลาดที่เป็นสาเหตุของความหายนะที่ได้รับ
3. ฉากต่างๆที่แสดงถึงความทรมานของมนุษย์จะต้องมีผลทำให้เกิดความสงสาร และความกลัวอันจะ
นำไปสู่ความเข้าใจชีวิต
4. มีความเป็นเลิศในเชิงศิลปะและวรรณคดี
5. ได้ความรู้สึกอันสูงกว่าหรือความรู้สึกผ่องแผ้วจริงใจ และการชำระล้างจิตใจจนบริสุทธิ์

ละครประเภทตลกขบขัน ตามหลักของทฤษฎีการละครที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ไปนั้นมักจะถือว่า
ละครประเภทตลกขบขันแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) ละครตลกชนิดโปกฮา (Farce) ให้ความตลกขบขันจากเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อเป็นการ
แสดงที่รวดเร็วและเอะอะตึงตัง
2) ละครตลกที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรม (Comedy) บางเรื่องเป็นวรรณกรรมชั้นสูงที่นับเป็นวรรณคดี
อมตะของโลก เช่น สุขนาฎกรรม (Romantic Comedy) ของเชกสเปียร์ (Shakespeare) ละครตลกประเภทเสียดสี (Satiric Comedy) ของโมลิแยร์ (Moliire) และตลกประเภทความคิด (Comedy of Ideas) ของจอร์จ เบอร์นาร์ด์ชอว์ (George Bernard Shaw) เป็นต้น ละครคอมเมดีมีหลายประเภท ดังนี้

- สุขนาฏกรรม (Romantic Comedy) ละครคอมมาดีประเภทนี้ถือเป็ นวรรณกรรมชั้นสูง  เช่น
สุขนาฎกรรมของวิลเลี่ยม เชกเสปียร์ เรื่อง เวนิชวานิช (The Merchants of Venice) ตามใจท่าน (As You Like It)และทเวลฟร์ ไนท์ (Twlfth Night) เป็นต้น ละครประเภทนี้นิยมแสดงในเรื่องราวที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็เป็นเรื่องราวที่น่าเชื่อสมเหตุสมผล ตัวละครประกอบด้วยพระเอกนางเอกที่มีความสวยงามตามอุดมคติ พูดจาด้วยภาษาที่ไพเราะเพราะพริ้ง และมักจะต้องพบกับอุปสรรคเกี่ยวกับความรักในตอนต้น แต่เรื่องก็จบลงด้วยความสุข ซึ่งมักจะเป็นพิธีแต่งงานหรือเฉลิมฉลองที่สดชื่นรื่นเริง บทบาทสำคัญที่ดึงดูดความสนใจและเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูในละครประเภทสุขนาฏกรรมนี้ มักไปตกอยู่กับตัวละครที่มีลักษณะเป็นตัวตลกอย่างแท้จริงซึ่งไม่ใช่ตัวพระเอก หรือนางเอก ตัวตลกเหล่านี้รวมถึงตัวตลกอาชีพ (Clown)ที่มีหน้าที่ทำให้คนหัวเราะด้วยคำพูดที่คมคายเสียดสี หรือ การกระทำที่ตลกโปกฮา
- ละครตลกชั้นสูง (Hight Comedy) หรือตลกผู้ดี (Comedy of Manners) เป็นละครที่ล้อเลียนเสียดสีชีวิตในสังคม เฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชั้นสูง ซึ่งมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย ความสนุกสนานขบขันของผู้ชมเกิดจากการที่ได้เห็นวิธีการอันแยบยลตางๆ ที่ตัวละครในเรื่องนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงกฎข้อบังคับของสัง คม
- ละครตลกประเภทเสียดสี (Satiric Comedy) ละครตลกประเภทนี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับตลกชั้นสูงแต่เน้นการเสียดสีโจมตีวิธีการที่รุนแรงกว่า ในขณะที่ละครตลกชั้นสูงมุ่งล้อเลียนพฤติกรรมของคนในวงสังคมชั้นสูง ละครตลกเสียดสีจะมุ่งโจมตีข้อบกพร่องของมนุษย์โดยทั่ว ไป ไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในแวดวงสังคมใดละครตลกประเภทนี้มุ่งที่จะแก้ไขสิ่งบกพร่องในตัวมนุษย์และสังคม ด้วยการนำข้อบกพร่องดังกล่าวมาเยาะเย้ยถากถางให้เป็นเรื่องขบขันและน่าละอาย เพื่อที่ว่าเมื่อได้ดูละครประเภทนี้แล้วผู้ชมจะได้มองเห็นข้อบกพร่องของตนเกิดความละอายใจ และพยายามปรับปรุงแก้ไขต่อไป
- ละครตลกประกอบความคิด (Comedy Ideas) ละครตลกประเภทนี้ใช้วิธีล้อเลียนเสียดสี แต่เน้นการนำเอาความคิดความเชื่อของมนุษย์ที่ผิดพลาดบกพร่องหรือล้าสมัย มาเป็นจุดที่ทำให้ผู้ชมหัวเราะโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ผู้ชมกลับไปคิดแก้ไขข้อบกพร่องในความคิดความเชื่อของตนเองและของสังคมโดยส่วนรวม จึงเรียกละครประเภทนี้ อีกอย่างหนึ่งว่า “ละครตลกระดับสมอง (Intellectual Comedy) ซึ่งจัดอยู่ในระดับวรรณกรรมเช่นกัน นักเขียนที่เป็นผู้นำในการประพันธ์ละครตลกนี้ ได้แก่ จอร์จ เบอร์นาร์ด ซอร์ (George Bernard Shaw)
- ละครตลกประเภทสถานการณ์ (Situation Comedy) ละครตลกประเภทนี้มักเกิดจากเรื่องราวที่สับสนอลเวงประเภทผิดฝาผิดตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องบังเอิญแทบทั้งสิ้น ลักษณะของการแสดงก็มักจะออกท่าออกทางมากกว่าตลกชั้นสูง
- ละครตลกประเภทโครมคราม (Slapstick Comedy) ละครตลกประเภทนี้มีลักษณะเอะอะตึงตัง มักมีการแสดงประเภทวิ่ง ไล่จับกัน และการตีก็มักจะทำให้เกิดเสียงอึกทึกครึกโครมมากว่าที่จะทำให้ให้ใครเจ็บจริงๆละครประเภทนี้ มีความแตกต่างจากคอเมดีชั้นสูงมาก และมีความใกล้เคียงไปทางละครฟาร์สมากกว่า
- ละครรักกระจุ๋มกระจิ๋ม (Sentimental Comdy) และละครตลกเคล้าน้ำตา (Tearful Comedy) ละครตลกประเภทนี้ จัดอยู่ในประเภทละครเริงรมย์ที่เขียนขึ้น เพื่อให้ถูกใจตลาดเช่นเดียวกับละครชีวิตประเภทเมโลดรามา (Melodrama) และมีลักษณะใกล้เคียงไปทางเมโลดรามามากกว่าคอมเมดี เพราะผู้เขียนให้ความเห็นอกเห็นใจกับตัวเอกมาก ผิดกับลักษณะของการเขียนประเภทคอมมาดี ซึ่งมักจะล้อเลียน หรือเสียดสีโดยปราศจากความเห็นใจและความตลกของตัวเอก และความตลกของตัวเอกมักจะน่าเอ็นดู ส่วนใหญ่แล้วตลกมักจะมาจากตัวคนใช้หรือเพื่อนฝูงของพระเอกนางเอกมากกว่า
3. ละครอิงนิยาย (Romance) เป็นเรื่องราวที่มนุษย์ใฝ่ฝันจะได้พบมากกว่าที่จะได้พบจริงๆ
ในชีวิตประจำวัน ละครประเภทนี่มีลักษณะที่หลีกไปจากชีวิตจริงไปสู่ชีวิตในอุดมคติ รูปแบบของละครโรมานซ์นิยมการสร้างสรรค์อย่างมีสาระเต็มทีโดยไม่ยึดถือกฎเกณฑ์ใดๆ ผู้เขียนบทละครสามารถวางโครงเรื่องโดยนำเหตุการณ์มาต่อกันเป็นตอนๆ ในด้านภาพและเสียงและมักเป็นบทที่นำไปจัดแสดงด้วยฉาก แสง สีและเครื่องแต่งกายที่งดงามตระการตา ส่วนในด้านการแสดง ละครโรมานซ์นิยมใช้การเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลคล่องแคล่ว งดงาม และไม่พยายามลอกเลียนการกระทำที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงจนเกินไป อาจใช้ลีลาที่สร้างสรรค์ขึ้นให้มีความงดงามมากกว่าชีวิตจริงและเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่ต้องการจะสื่อต่อผู้ชม



4. ละครประเภทเริงรมย์ (Melodrama) หมายถึงละครที่ถือความสำคัญของโครงเรื่อง (Plot) หรือความสนุกสนานของการดำเนินเรื่องเป็นสำคัญ ตัวละครมีความสำคัญลองลงมา จึงใช้ตัวละครเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง ที่สนุกสนาน และเพื่อให้เข้าใจง่าย ติดตามท้องเรื่องได้ง่าย จึงนิยมใช้ตัวละครประเภท “ตายตัว”(Typed Characters) เช่นพระเอก นางเอก ผู้ร้าย เป็นต้น
5. ละครสมัยใหม่ (Modern drama) มีแนวทางดังนี้
1) ละครสมัยใหม่แนว “เหมือนชีวิตหรือเป็นธรรมชาติ” (Realism/Naturalism) หมายถึง ละคร
สมัยใหม่ที่พยายามมองชีวิตด้วยความเป็นกลาง แล้วสะท้อนภาพออกมาในรูปของละครตามความเป็นจริงโดยไม่เสริมแต่งหรือบิดเบือน ตลอดจนใช้วิธีการจัดเสนอที่ทำให้ละครมีความใกล้เคียงกับชีวิตมากที่สุดการเริ่มต้นละครยุคสมัยใหม่ ในราวปลายศตวรรษที่ 19 บรรดาผู้นำในด้านละครสมัยใหม่ต่างก็พากันเรียกว่า “ละครคือชีวิต” (Theatre is life itself) และการแสดงละครที่ถูกต้องคือการนำเอา “แผ่นภาพชีวิต”(Slice of Life) ที่เหมือนจริงทุกประการมาวางบนเวทีโดยไม่มีการดัดแปลง
2) ละครสมัยใหม่แนว “ต่อต้านชีวิตจริง” (Anti-realism) เกิดขึ้นเมื่อราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีหลายแนวดังนี้
- ละครแนวสัญลักษณ์ (Symbolism) เป็นละครที่ใช้สัญลักษณ์ในการนำเสนอความเป็นจริงแทนที่จะหลอกภาพที่เหมือนมาแสดงแต่อ่างเดียว แต่จะอวดอ้างว่า “ความจริง” ที่เสนอโดยใช้สัญลักษณ์ที่ลึกซึ้งกว่าความจริงที่ได้มาจากการลอกเลียนแบบธรรมชาติโดยใช้ทั้งการสัมผัส นอกจากจะคัดค้านการลอกแบบชีวิตจริงมาใช้ในการประพันธ์แล้ว ยังคัดค้านการสร้างฉากที่เหมือนจริง ตลอดจนการเน้นรายละเอียดและการใช้ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับกาลเวลาและสถานที่ในการเสนอละครมากเกินไป นิยมใช้ฉาก เครื่องแต่งกายที่ดูเป็นกลางๆไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นยุคใด แต่จะเน้นการใช้อารมณ์ บรรยากาศ และทำให้ฉาก แสง สี เครื่องแต่งกายเป็นสัญลักษณ์

- ละครแนวโรแมนติก (Romantic) หรือโรแมนติซิสม์ (Romantism) สมัยใหม่ เป็นละครที่สะท้อนให้เห็นจินตนาการ ความใฝ่ฝัน และอุดมคติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ แทนที่จะให้เห็นแต่อำนาจฝ่ายต่ำหรือตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อม
- ละครแนวเอกสเพรสชั้นนิสม์ (Expressionism) เป็นละครที่เสาะแสวงหาความจริงส่วนลึกของสมองและจิตใจมนุษย์ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับความจริงที่เห็นหรือจับต้องได้ ฉากในละครบางครั้งจึงมีลักษณะบูดเบี้ยว และมีขนาดแตกต่างไปจากความเป็นจริงมาก คือ เป็นภาพที่ถูกบิดเบือนไปตามความรู้สึกนึกคิดหรืออารมณ์ของตัวละคร ละครประเภทนี้ ไม่ใช้การแสดงแบบเหมือนชีวิตหรือเป็นธรรมชาติ แต่อาจให้ตัวละครใส่หน้ากากหรือเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์ หรือแสดงการเคลื่อนไหวแบบอื่นๆที่เห็นว่าเหมาะสม
- ละครแนวเอพิค (Epic) เป็นละครที่มีอิสระในด้านลีลาการแสดง บทเจรจา และเทคนิคของการจัดเสนอที่ทำให้ดูห่างไกลจากแนวเหมือนชีวิต แต่ยังคงเสนอเรื่องราวที่ติดตามได้ มีเหตุผลตามสมควรและมีภาพสะท้อนเกี่ยวกับโลกและมนุษย์เสนอต่อผู้ชม แบร์โทลท์ เบรซท์ นักเขียนชาวเยอรมันเป็นคนสำคัญที่สุดที่ทำให้ละครแนวเอพิคได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก
- ละครแนวแอบเสิร์ด (Absurd) เป็นละครที่มีแนวการนำเสนอแบบตลกขบขันด้วยลีลาของจำอวด
แบบเก่าแก่ แต่เนื้อหาสาระแสดงให้เห็นความสับสนวุ่นวายของโลก ความว่างเปล่าไร้จุดหมายของชีวิต การใช้ภาษามักแสดงให้เห็นความบกพร่องและการเสื่อมค่าของภาษา จนถึงขนาดที่ว่าภาษาในโลกปัจจุบันนั้นใช้สื่อความหมายแทบไม่ได้เลย การดูละครแนวแอบเสิร์ด จึงคล้ายกับการดูภาพเขียนประเภทแอบเสิร์ด จึงคล้ายกับการดูภาพเขียนประเภทแอบสแทรคท์ (Abstract) คือผู้ดูจะต้องตีความหมายทุกอย่างด้วยตนเอง นำเอาความคิดความรู้สึกและประสบการณ์ของตนเข้ามามีส่วนในการ “เข้าถึง” ดังนั้นผู้ชมแต่ละคนจึงอาจแปลความหมายที่ได้รับจากการดูละครแอบเสิร์ดเรื่องเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจินตนาการ ภูมิหลัง และเจตคติของแต่ละคน
การจัดการแสดงละคร
การจัดการแสดงละคร หมายถึง การนำบทละครหรือเรื่องราวที่มีอยู่มาจัดเสนอในรูปของการแสดง ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นโรงละครหรือสถานที่ที่สามารถจัดแสดงให้ผู้ชมชมได้ผู้ชมละคร คือ ผู้รับรู้คุณค่าของละครและมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อคุณค่านั้นๆ โดยการนำไปกล่อมเกลานิสัยใจคอ รสนิยม หรือเจตคติของตนเองที่มีต่อสิ่งต่างๆในชีวิต ในขณะเดียวกันผู้ชมคือผู้ที่วิจารณ์การละคร ปฏิกิริยา ของผู้ชมที่มีต่อละครจึงมีอิทธิพลต่อผู้สร้างสรรค์ละครเป็นอย่างมาก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น