วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

3.4 ละครที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก

ในสมัยรัชกาลที่ วัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ของตะวันตกได้กระจายแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยทำให้เกิดละครแบบต่างๆ ขึ้น เช่น ละครดึกดำบรรพ์ ดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้วในตอนต้น แต่ละครดึกดำบรรพ์ยังคงใช้ท่ารำของไทยเป็นหลัก และถือได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ ของไทยอย่างสมบูรณ์ ส่วนละครที่นำแบบอย่างของตะวันตกมาแสดงคือละครที่ไม่ใช้ท่ารำเลย ใช้แต่กิริยาท่าทางของคนธรรมดาสามัญที่ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตจริง
เท่านั้น ได้แก่

1. ละครร้อง เป็นละครที่ใช้ท่าทางแบบสามัญธรรมดา ไม่มีการร่ายรำ แสดงบนเวที และมีการเปลี่ยน
ฉากตามท้องเรื่อง ละครร้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ละครร้องล้วนๆ การดำเนินเรื่องใช้เพลงร้องตลอดเรื่อง ไม่มีคำพูด ละครร้องล้วนๆ เช่นบทละคร
เรื่องสาวิตรี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
2) ละครร้องสลับพูด การดำเนินเรื่องมีทั้งร้องและพูด แต่ยึดถือการร้องเป็นสำคัญ การพูดเป็นเพียง
สอดแทรกและบทพูดทบทวนบทที่ร้องจบไปแล้วเท่านั้น ละครร้องประเภทนี้ได้รับความนิยมและรู้จักกัน
แพร่หลาย ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงละครร้องมักจะหมายถึงละครร้องสลับพูดกันเป็นส่วนใหญ่ ละครร้องสลับพูด เช่น สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก เป็นต้น

     




2.ละครพูด เป็นละครที่ใช้ศิลปะในการพูดดำเนินเรื่อ เป็นละครแบบใหม่ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ละครพูดจะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1) ละครพูดล้วนๆ ดำเนินเรื่องด้วยวิธีการพูด ตัวละครแสดงท่าทางตามธรรมชาติประกอบบทบาทไป
ตามเนื่องเรื่อง เป็นละครที่ได้รับความนิยมจนทุกวันนี้ เพราะแสดงได้ง่ายแบบสามัญชน ตัวละครไม่ต้องใช้เวลา
ฝึกฝนเป็นเวลานานๆเหมือนละครรำ ไม่ต้องมีดนตรีหรือการร้องเพลง แต่มีฉากและเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง
เรื่องที่นำมาแสดงอาจแต่งขึ้นหรือดัดแปลงมาจากต่างประเทศก็ได้
2) ละครพูดสลับลำ ลำ หมายถึง ลำนำหรือเพลง ละครพูดสลับลำจะดำเนินเรื่องด้วยการพูดและมีการ
ร้องเพลงแทรกบ้าง เช่น ให้ตัวละครร้องเพื่อแสดงอารมณ์ของเรื่องหรือตัวละคร ซึ่งหากต้องการตัดเพลงออกจะต้องไม่เสียเรื่อง และเมื่อตัดออกก็เป็นเพียงละครพูดธรรมดา เรื่องที่ใช้แสดง เช่น เรื่องปล่อยแก ของนายบัว ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า“ศรีอยุธยา”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น