วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

3.2 สุนทรียะทางนาฏศิลป์


 เรืองที่ 2 สุนทรียะทางนาฏศิลป์

      ความหมายสุนทรียะทางนาฏศิลป์ 
สุนทรียะ (Aesthetic) หมายถึง ความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งสวยงาม รูปลักษณะอันประกอบด้วยความสวยงาม (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 : 541)
นอกจากนียังมีผู้ให้ความหมายของคําว่า “สุนทรียะ” ไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
  *หลวงวิจิตรวาทการ ได้อธิบายความหมายไว้ว่า ความรู้สึกธรรมดาของคนเรา ซึ่งรู้จักคุณค่าของวัตถุที่ งามความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเสียงและถ้อยคําไพเราะ ความรู้สึกความงามที่เป็นสุนทรียภาพนี้ย่อมเป็นไป ตามอุปนิสัยการอบรมและการศึกษาของบุคคล ซึ่งรวมเรียนว่า รส (Taste) ซึ่งความรู้สึกนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนปรนปรือในการอ่าน การฟัง และการพินิจดูสิ่งที่งดงามไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือศิลปะ (หลวงวิจิตรวาทการ 2515 : 7 – 12 )
        *อารี สุทธิพันธุ์ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ “สุนทรียศาสตร์” ไว้ 2 ประการ ดังนี้
 1 . วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ของมนุษย์ ซึงทําให้มนุษย์เกิดความเบิกบานใจ อิ มเอมโดยไม่หวังผลตอบแทน 
 2. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกแขนง นําข้อมูลมาจัดลําดับเพื่อนเสนอแนะให้เห็นคุณค่า ซาบซึ้งในสิ่งที่แอบแฝงซ้อนเร้น เพื่อสร้างความนิยมชมชื่นร่วมกัน ตามลักษณะรูปแบบของผลงานนั้น ๆ (อารี สุทธิพันธุ์,2534 : 82)
           ความหมายของคําว่า “สุนทรียะ” หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีความซาบซึ้ง และเห็นคุณค่าในสิ่ง ดีงาม และไพเราะจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีต ซึ่งมนุษย์ สัมผัสและรับรู้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนเกิดความพึงพอใจ ความประทับใจและทําให้เกิดความสุขจากสิ่งที่ตนได้ พบเห็นและสัมผัส
           ความหมายของคําว่า “นาฏศิลป์ ” หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา (พจนานุกรมฉบับเฉลิม พระเกียรติ พ.ศ.2534 :279 ) นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคําว่า “นาฏศิลป์ ” ไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
*ธนิต อยู่โพธิ์ ได้แปลคําว่า “นาฏศิลป์ ” ไว้ว่า คือความชํ่าชองในการละครฟ้อนรําด้วยมีความเห็นว่าผู้ที่ มีศิลปะที่เรียกว่า ศิลปินจะต้องเป็นผู้มีฝีมือมีความชํ่าชองชํานาญในภาคปฏิบัติให้ดีจริง ๆ (ธนิต อยู่โพธิ์ 2516  :1 )
            ความหมายของคําว่า “นาฏศิลป์ ” ที่ได้กล่าวมานัน สรุปได้ว่า หมายถึงศิลปะในการฟ้อนรําที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติและจากความคํานึงด้วยความประณีตงดงาม มีความวิจิตรบรรจง นาฏศิลป์ นอกจาก จะหมายถึงท่าทางแสดงการฟ้ อนรําแล้ว ยังประกอบด้วยการขับร้องทีเรียกว่า คีตศิลป์ และการบรรเลงดนตรีคือ “ดุริยางคศิลป์ ” เพื่อให้ศิลปะการฟ้อนรํานั้นงดงามประทับใจ “สุนทรียะทางนาฏศิลป์ สากล” จึงหมายถึง ความวิจิตรงดงามของการแสดงนาฏศิลป์ สากล ซึ่งประกอบ ไปด้วย ระบํา รํา ฟ้อน ละคร อันมีลีลาท่ารําและการเคลื่อนไหวที่ประกอบดนตรี บทร้องตามลักษณะและ ชนิดของการแสดงแต่ละประเภท

พื้นฐานความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย
             นาฏศิลป์ มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกัน ทั้งที่เป็นการแสดงในรูปแบบของการฟ้อนรําและการแสดง ในรูปแบบของละคร แต่ละประเภทจึงแตกต่างกัน ดังนี้
             1. นาฏศิลป์ทีแสดงในรูปแบบของการฟ้อนรํา เกิดจากสัญชาตญาณดังเดิมของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ในโลก เมื่อมีความสุขหรือความทุกข์ก็แสดงกิริยาอาการออกมาตามอารมณ์และความรู้สึกนั้น ๆ โดยแสดงออก ด้วยกิริยาท่าทางเคลื่อนไหว มือ เท้า สีหน้า และดวงตาที่เป็นไปตามธรรมชาติ รากฐานการเกิดนาฏศิลป์ ใน รูปแบบของการฟ้อนรําพัฒนาขึ้นมาเป็นลําดับ ดังนี้
                   1.1 เพือใช้เป็นพิธีกรรมทางศาสนา มนุษย์เชื่อว่ามีผู้ดลบันดาลให้เกิดความวิบัติต่าง ๆ หรือเชื่อว่ามี ผู้ที่สามารถบันดาลความสําเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองให้กับชีวิตของตน ซึ่งอาจเป็นเทพเจ้าหรือปิ ศาจตามความเชื่อ ของแต่ละคนจึงมีการเต้นรําหรือฟ้อนรํา เพื่อเป็นการอ้อนวอนหรือบูชาต่อผู้ที่ตนเชื่อว่ามีอํานาจดังกล่าว สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพฯ ได้อธิบายในหนังสือตําราฟ้อนรําว่า ชาติโบราณทุกชนิด ถือการเต้นรําหรือฟ้อนรําเป็นประจําชีวิตของทุกคน และยังถือว่าการฟ้อนรําเป็นพิธีกรรมทางศาสนาด้วย สําหรับประเทศอินเดียนั้นมีตําราฟ้อนรําฝึกสอนมาแต่โบราณกาล เรียกว่า “คัมภีร์นาฏศิลป์ ศาสตร์”
                  1.2  เพื่อใช้ในการต่อสู้และการทําสงคราม เช่น ตําราคชศาสตร์ เป็นวิชาชั้นสูง สําหรับการทํา สงครามในสมัยโบราณ ผู้ที่จะทําสงครามบนหลังช้างจําเป็นต้องฝึกหัดฟ้อนรําให้เป็นที่สง่างามด้วย แม้แต่ พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องทรงฝึกหัดการฟ้อนรําบนหลังช้างในการทําสงครามเช่นกัน
                  1.3 เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง การพักผ่อนหย่อนใจเป็นความต้องการของมนุษย์ ในเวลาว่างจาก การทํางานก็จะหาสิ่งที่จะทําให้ตนและพรรคพวกได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินคลายความเหน็ดเหนื่อย เนื่องจากการร้องรําทําเพลงเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ดังนั้นจึงมีการรวมกลุ่มกันร้องเพลงและ ร่ายรําไปตามความพอใจของพวกตน ซึ่งอาจมีเนื้อร้องที่มีสําเนียงภาษาของแต่ละท้องถิ่น และท่วงทํานองเพลง ที่เป็นไปตามจังหวะประกอบท่าร่ายรําแบบง่าย ๆ ซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนเกิดเป็นการแสดงนาฏศิลป์ รูปแบบของ การฟ้อนรําของแต่ละท้องถิ่นเรียกว่า “รําพื้นเมือง”
         2 . นาฏศิลป์ที่แสดงในรูปแบบของละคร มีรากฐานมาจากความต้องการของมนุษย์ที่่จะถ่ายทอด ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับมนุษย์ที่เป็นความประทับใจ ซึ่งสมควรแก่การจดจํา หรืออาจมี วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ ศาสนาและสอนศีลธรรม เพราะการสร้างในรูปแบบของละคร เป็นวิธีการที่ง่ายต่อความเข้าใจแต่ยากที่จะใช้การเผยแพร่และอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการอื่น จึงมีการสร้างเรื่องราว หรือบันทึกเหตุการณ์อันน่าประทับใจและมีคุณค่านั้นไว้เป็นประวัติศาสตร์ในรูปแบบของการแสดงละคร เพราะเชื่อว่าการแสดงละครเป็นวิธีหนึ่งของการสอนคติธรรม โดยบุคลาธิษฐานในเชิงอุปมาอุปมัย อาจกล่าวได้ว่ารากฐานการเกิดของนาฏศิลป์ ไทยตามข้อสันนิษฐานที่ได้กล่าวมานั้นทั้งการแสดงใน รูปแบบของการฟอนรํา และการแสดงในรูปแบบของการละครได้พัฒนาขึ้นตามลําดับ จนกลายเป็นแบบแผน ของการแสดงนาฏศิลป์ ไทยทีมีความเป็นเอกลักษณ์เด่นชัด





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น