วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

3.1 นาฏยนิยาม


เรื่องที่ 1  นาฏยนิยาม 
      นาฏยนิยาม หมายถึง คําอธิบาย คําจํากัดความ ขอบเขต บทบาท และรูปลักษณ์ของนาฏศิลป์ ซึ้งล้วน แสดงความหมายของนาฏยศิลป์ ทีหลากหลาย อันเป็นเครืองบ่งชีว่านาฏยศิลป์ มีความสําคัญ เกี่ยวข้องกับชีวิต และสังคมมาตัังแต่อดีตกาล

นิยาม
     ในส่วนนี้เป็นการกล่าวถึง ความหมายของนาฏยศิลป์ หรือการฟ้อนรําที่ปราชญ์และนักวิชาการสําคัญได้ พยายามอธิบายคําว่า นาฏยศิลป์ ไว้ในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงกําเนิดและวิวัฒนาการของ นาฏยศิลป์ ที่ผูกพันกับมนุษย์ ดังนี้
  “การฟ้อนรําเป็นประเพณี ของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ไม่เลือกว่าจะอยู่ ณ ประเทศถิ่นสถานที่ใด ในพิภพนี้ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ถึงแม้สัตว์เดรัจฉานก็มีวิธีฟ้อน เช่น สุนัข ไก่กา เวลาใดสบอารมณ์ มันก็จะเต้น โลดกรีดกรายทํากิริยาท่าทางได้ต่าง ๆ ก็คือการฟ้อนรําตามวิสัยสัตว์นั้นเอง ปราชญ์แห่งการฟ้อนรําจึงเล็งเห็น การฟ้อนรํานี้มูลรากเกิดแต่วิสัยสัตว์เมือเวทนาเสวยอารมณ์ จะเป็นสุขเวทนาก็ตามหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าเสวยอารมณ์แรงกล้าไม่กลันไว้ได้ ก็แล่นออกมาเป็ นกิริยาให้เห็นปรากฏยกเป็ นนิทัศนอุทาหรณ์ดังเช่น ธรรมดาทารก เวลาอารมณ์เสวยสุขเวทนาก็เต้นแร้งเต้นแฉ่งสนุกสนาน ถ้าอารมณ์เสวยทุกขเวทนาก็ดิ นโดยให้ แสดงกิริยาปรากฏออกให้รู้ว่าอารมณ์เป็ นอย่างไร ยิงเติบโตรู้เดียงสาขึ้นเพียงไร กิริยาทีอารมณ์เล่นออกมาก็ยิ่ง มากมายหลายอย่างออกไป จนถึงกิริยาที่แสดงความกําหนัดยินดีในอารมณ์ และกิริยาซึ้งแสดงความอาฆาต โกรธแค้น เป็นต้น กิริยาอันเกิดแต่เวทนาเสวยอารมณ์นี้นับเป็ นขั้นต้นของการฟ้อนรํา
     ต่อมาอีกขั้นหนึ่งเกิดแต่คนทั้งหลายรู้ความหมายของกิริยาต่าง ๆ เช่น กล่าวมาก็ใช้กิริยาเหล่านันเป็น ภาษาอันหนึ่ง เมื่อประสงค์จะแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่นโดยใจจริงก็ดี หรือโดยมายาเช่นในเวลาเล่นหัวก็ดี ว่าตนมี อารมณ์อย่างไร ก็แสดงกิริยาอันเป็นเครื่องหมายอารมณ์อย่างนั้น เป็นต้นว่าถ้าแสดงความเสน่หา ก็ทํา กิริยายิ้มแย้มกรีดกราย จะแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจก็ขับร้องฟ้อนรํา จําขู่ให้ผู้อื่นกลัวก็ทําหน้าตาถมึงทึงแลโลดเต้น คุกคาม จึงเกิดแบบแผนท่าทางทีแสดงอารมณ์ต่าง ๆ อันเป็นต้นของกระบวนฟ้อนรําขึ้นด้วยประการนี้นับเป็น ขั้นที่สอง
     อันประเพณีการฟ้อนรําจะเป็นสําหรับฝึกหัดพวกที่ประกอบการหาเลี้ยงชีพด้วยรําเต้น เช่น โขนละคร เท่านั้นหามิได้ แต่เดิมมาย่อมเป็นประเพณีสําหรับบุคคลทุกชั้นบรรดาศักดิ์และมีที่ใช้ไปจนถึงการยุทธ์และ การพิธีต่าง ๆ หลายอย่าง จะยกตัวอย่างแต่ประเพณีการฟ้อนรําที่มีมาในสยามประเทศของเรานี ดังเช่นในตําราคชศาสตร์ ซึงนับถือว่าเป็นวิชาชั้นสูงสําหรับการรณรงค์สงครามแต่โบราณ ใครหัดขี่ช้างชนก็ต้องหัดฟ้อนรํา ให้เป็นสง่าราศีด้วยแม้พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องฝึกหัด มีตัวอย่างมาจนถึงรัชกาลที่ 5  เมื่อพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาคชศาสตร์ต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ ากรมพระยาบําราบ ปรปักษ์ ก็ได้ทรงหัดฟ้อนรํา ได้ยินเคยทรงรําพระแสงขอบนคอช้างพระทีนังเป็ นพุทธบูชาเมื่อครั้งเสด็จพระพุทธบาทตามโบราณราชประเพณี เมื่อปี วอก พ.ศ. การฟ้อนรําในกระบวนยุทธอย่างอื่น เช่น ตีกระบี่กระบองก็เป็น วิชาที่เจ้านายต้องทรงฝึกหัดมาแต่ก่อน ส่วนกระบวนฟ้อนรําในการพิธี ยังมีตัวอย่างทางหัวเมืองมณฑล ภาคพายัพ ถ้าเวลามีงานบุญให้ทานเป็นการใหญ่ก็เป็นประเพณีที่เจ้านายตั้งแต่เจ้าผู้ครองนครลงมาที่จะฟ้อนรํา เป็นการแสดงโสมนัสศรัทธาในบุญทาน เจ้านายฝ่ายหญิงก็ย่อมหัดฟ้อนรําและมีเวลาทีจะหัดฟ้อนรําในการพิธี บางอย่างจนทุกวันนี้ ประเพณีต่าง ๆ ดังกล่าวมา ส่อให้เห็นว่าแต่โบราณย่อมถือว่าการฟ้อนรําเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา ซึ่งสมควรจะฝึกหัดเป็นสามัญทั่วมุกทุกชั้นบรรดาศักดิ์สืบมา
    การที่ฝึกหัดคนแต่บางจําพวกให้ฟ้อนรํา ดังเช่นระบําหรือละครนั้น คงเกิดแต่ประสงค์จะใคร่ดูกระบวน ฟ้อนรํา ว่าจะงามได้ถึงทีสุดเพียงไร จึงเลือกสรรคนแต่บางเหล่าฝึกฝนให้ชํานิชํานาญเฉพาะการฟ้อนรํา สําหรับ แสดงแก่คนทั้งหลายให้เห็นว่าการฟ้อนรําอาจจะงามได้ถึงเพียงนั้น เมื่อสามารถฝึกหัดได้สมประสงค์ก็เป็นที่ต้อง ตาติดใจคนทั้งหลาย จึงเกิดมีนักรําขึ้นเป็นพวกที่หนึ่งต่างหาก แต่ที่จริงวิชาฟ้อนรําก็มีแบบแผนอันเดียวกับที่เป็น สามัญแก่คนทั้งหลายทุกชั้นบรรดาศักดิ์นั่นเอง”
   ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของนาฏยศิลป์ ไว้กว้าง ๆ ตลอดจนกําหนดการออกเสียงไว้ใน พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ดังนี
“นาฏ, นาฏ – [นาด, นาตะ – นาดตะ-] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ไทยใช้หมายถึง
 หญิงสาวสวย
 เช่น นางนาฏ นุชนาฏ (ป.; ส.)
 นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละคร, การฟ้อนรํา.
 นาฏดนตรี [นาดตะดนตรี] น. ลิเก.
 นาฏศิลป์ [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา.
 นาฏก [นาตะกะ (หลัก), นาดตะกะ (นิยม)] น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป.; ส.)
 นาฏย [นาดตะยะ-] ว. เกียวกับการฟ้ อนรํา, เกียวกับการแสดงละคร (ส.)
 นาฏยเวที น. พืนทีแสดงละครล ฉาก.
 นาฏยศาลา น. ห้องฟ้อนรํา, โรงละคร
 นาฏยศาสตร์ น. วิชาฟ้อนรํา, วิชาแสดงละคร”

หมายเหตุ 
                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, “ประวัติการฟ้อนรํา.” ใน การละครไทย อ้างถึงใน หนังสืออ่านประกอบคํา บรรยายวิชาพื นฐานอารยธรรมไทยตอนดนตรีและนาฏศิลป์ ไทย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พระนคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2515 ) , หน้า 12 -14.   
                       พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 . พิมพ์ครังที 3   (กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช,2531 ), หน้า279 . 



ธนิต อยู่โพธิ์ ได้อธิบายความหมายของนาฏยศิลป์ ดังทีปรากฏในคัมภีร์อินเดียไว้ดังนี้
      “คําว่า “นาฏย” ตามคัมภีร์อภิธานัปปทีปิ กาและสูจิ ท่านให้วิเคราะห์ศัพท์ว่า “นฏสเสตนตินาฏย” ความ ว่า ศิลปะของผู้ฟ้อนผู้รํา เรียกว่า นาฏย และให้อรรถาธิบายว่า “นจจ วาทิต คีต อิท ตุริยติก นาฏยนาเมนุจจเต” แปลว่า การฟ้ อนรํา การบรรเลง (ดนตรี) การขับร้อง หมวด แห่งตุริยะนี ท่าน (รวม) เรียกโดยชื่อว่า นาฏย ซึ่ง ตามนี้ท่านจะเห็นได้ว่า คําว่า นาฏะ หรือนาฏยะ นัน การขับร้อง หรือพูดอย่างง่าย ๆ ก็ว่าคํา “นาฏย” นั้นมี ความหมายรวมทั้งฟ้อนรําขับร้องและประโคมดนตรีด้วย ไม่ใช่มีความหมายแต่เฉพาะศิลป์ฟ้อนรําอย่างเดียว ดังที่บางท่านเข้าใจกัน แม้จะใช้คําว่าหมวด แห่งตุริยะหรือตุริยะ อย่าง แสดงให้เห็นว่าใช้คํา “ตุริยะ” หมายถึง เครื่องตีเครื่องเป่า แต่แปลงกันว่า “ดนตรี” ก็ได้ นี่ว่าตามรูปศัพท์ แท้ที่จริงแม้ในวิธีการปฏิบัติศิลปินจะรับระบํา รําฟ้อนไปโดยไม่มีดนตรีและขับร้องประกอบเรื่องและให้จังหวะไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้และไม่เป็นศิลปะ ที่สมบูรณ์ ถ้าขาดดนตรีและขับร้องเสียแล้ว แม้ในส่วนศิลปะของการฟ้อนรําเองก็ไม่สมบูรณ์ในตัวของมัน พระ ภรตมุนี ซึงศิลปินทางโขนละครพากันทําศรีษะของท่านกราบไหว้บูชา เรียกกันว่า “ศรีษะฤๅษี” นั้น มีตํานานว่า ท่านเป็นปรมาจารย์แห่งศิลปะทางโขนละครฟ้อนรํามาแต่โบราณ เมื่อท่านได้แต่งคัมภีร์นาฏยศาสตร์ขึ้นไว้ ก็มี อยู่หลายบริเฉทหรือหลายบทในคัมภีร์นาฏยศาสตร์นั้น ที่ท่านได้กล่าวถึงและวางกฎเกณฑ์ในทางดนตรีและ ขับร้องไว้ด้วย และท่านศารงคเทพผู้แต่งคัมภีร์สังคีตรัตนากรอันเป็นคัมภีร์ทีว่าด้วยการดนตรีอีกท่านหนึ่งเล่า ก็ปรากฏว่าท่านได้วางหลักเกณฑ์และอธิบายศิลปะทางการละครฟ้อนรําไว้มากมายในคัมภีร์นั้น เป็นอันว่าศิลปะ ประการ คือฟ้อนรํา ดนตรี ขับร้อง เหล่านี้ต่างต้องประกอบอาศัยกัน คําว่า นาฏยะ จึงมีความหมายรวมเอา ศิลปะ อย่างนั้นไว้ในศัพท์เดียวกัน”







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น