วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

3.3 นาฏศิลป์ สากลเพือนบ้านของไทย


เรื่องที่ 3 นาฏศิลป์ สากลเพื่อนบ้านของไทย

ประเทศในกลุ่มทวีปเอเชีย ซึ่งมีวัฒนธรรมประจําชาติ ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ ตลอดทั้งเป็น สื่อสัมพันธ์อันดีกับชาติต่าง ๆ ลักษณะของนาฏศิลป์ ของชาติเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นประเทศพม่า ลาว กัมพูชา มาเลเชีย จีน ธิเบต เกาหลี และญี่ปุ่น มักจะเน้นในเรืองลีลาความสวยงามเกือบทุกเรื่อง ไม่เน้นจังหวะการใช้เท้า มากนัก ซึ่งแตกต่างจากนาฏศิลป์ ของตะวันตกที่มักจะเน้นหนักในลีลาจังหวะที่รุกเร้า ประกอบการเต้นที่รวดเร็ว และคล่องแคล่ว นาฏศิลป์ ของชาติเพื่อนบ้านที่ควรเรียนรู้ได้แก่ ประเทศดังต่อไปนี้
1. นาฏศิลป์ ประเทศพม่า
2. นาฏศิลป์ ประเทศลาว
3. นาฏศิลป์ ประเทศกัมพูชา (เขมร)
4. นาฏศิลป์ ประเทศมาเลเชีย
5. นาฏศิลป์ ประเทศอินโดนีเซีย
6. นาฏศิลป์ ประเทศอินเดีย
7. นาฏศิลป์ ประเทศจีน
8. นาฏศิลป์ ประเทศทิเบต
9. นาฏศิลป์ ประเทศเกาหลี
10. นาฏศิลป์ ประเทศญี่ปุ่น

นาฏศิลป์ประเทศพม่า

หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2  พม่าได้รับอิทธิพลนาฏศิลป์ไปจากไทย ก่อนหน้านี้นาฏศิลป์ ของพม่าเป็นแบบพื้นเมืองมากกว่าที่จะได้รับอิทธิพลมาจากภายนอกประเทศเหมือนประเทศอื่นๆ นาฏศิลป์ พม่าเริ่มต้น จากพิธีการทางศาสนา ต่อมาเมื่อพม่าติดต่อกับอินเดียและจีน ท่าร่ายรําของสองชาติดังกล่าวก็มีอิทธิพลแทรกซึม ในนาฏศิลป์ พืนเมืองของพม่า แต่ท่าร่ายรําเดิมของพม่านั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่มีความเกี่ยวข้อง กับเรื่องรามายณะหรือมหาภารตะเหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ

นาฏศิลป์ และการละครในพม่านั้น แบ่งได้เป็น 3  ยุค คือ
1. ยุคก่อนนับถือพระพุทธศาสนา เป็นยุคของการนับถือผี การฟ้อนรําเป็นไปในการทรงเจ้าเข้าผี บูชาผี และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาก็มีการฟ้อนรําในงานพิธีต่างๆเช่น โกนจุก เป็นต้น
2. ยุคนับถือพระพุทธศาสนา พม่านับถือพระพุทธศาสนาหลังปี พ.ศ. ในสมัยนี้การฟ้อนรําเพื่อบูชา ผีก็ยังมีอยู่ และการฟ้อนรํากลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในพระพุทธศาสนาด้วย หลังปี พ.ศ.1559 เกิดมีการละครแบบหนึ่ง เรียกว่า นิพัทขินเป็นละครเร่ แสดงเรื่องพุทธประวัติเพื่อ เผยแพร่ความรู้ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย
3. ยุคอิทธิพลละครไทย หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ.2310 ชาวไทยถูกกวาดต้อนไปเป็น เชลยจํานวนมาก พวกละครและดนตรีถูกนําเข้าไปไว้ในพระราชสํานัก จึงเกิดความนิยมละครแบบไทยขึ้น ละคร แบบพม่ายุคนี้เรียกว่าโยธยาสัตคยีหรือละครแบบโยธยา ท่ารํา ดนตรี และเรื่องที่แสดงร่วมทั้งภาษาที่ใช้ก็เป็น ของไทย มีการแสดงอยู่ เรือง คือ รามเกียรติ เล่นแบบโขน และอิเหนา เล่นแบบละครใน
ในปี พ.ศ.2328 เมียวดี ข้าราชการสํานักพม่าได้คิดละครแบบใหม่ขึ้นชื่อเรื่องอีนองซึงมีลักษณะ ใกล้เคียง กับอิเหนามาก ที่แปลกออกไปคือ ตัวละครของเรื่องมีลักษณะเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญที่มี่กิเลส มีความดีความชั่ว ละครเรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดละครในแนวนี้ขึ้นอีกหลายเรื่อง ต่อมาละครในพระราชสํานักเสื่อมความนิยมลง เมื่อกลายเป็นของชาวบ้านก็ค่อยๆ เสื่อมลงจนกลายเป็น ของน่ารังเกียจเหยียดหยาม แต่ละครแบบนิพัทขินกลับเฟื่องฟูขึ้น แต่มีการลดมาตรฐานลงจนกลายเป็นจําอวด เมื่อประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว ในปี พ.ศ.2428 ละครหลวงและละครพื้นเมืองซบเซา ต่อมามีการนําละครที่นําแบบอย่างมาจากอังกฤษเข้าแทนที่ ถึงสมัยปัจจุบันละครคู่บ้านคู่เมืองของพม่าหาชมได้ ยากและรักษาของเดิมไว้ไม่ค่อยจะได้ ไม่มีการฟื้นฟูกัน เนื่องจากบ้านเมืองไม่อยู่ในสภาพสงบสุข นาฏศิลป์ประเทศลาว ลาวเป็นประเทศหนึ่งทีมีโรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติ ก่อกําเนิดมาตังแต่ปี พ.ศ.2501 โดย Blanchat de la Broche และเจ้าเสถียนนะ จําปาสัก ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ การสอนหนักไปแนวทางพื้นบ้าน (ศิลปะ ประจําชาติ) ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2518 ได้เข้าร่วมกับโรงเรียนศิลปะดนตรีของเท้าประเสิด สีสาน มีชื่อใหม่ ว่า โรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติขึ้นอยู่กับกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม มีครู คน นักเรียน คน เรียนจบได้ประกาศนียบัตรชั้นกลาง ผู้มีความสามารถด้านใดเป็นพิเศษจะได้รับการส่งเสริมให้เรียนต่อใน ต่างประเทศ หรือทําหน้าที่เป็นครูหรือนักแสดงต่อไป วิชาทีเปิดสอนมีนาฏศิลป์ ดนตรี ขับร้อง นาฏศิลป์ จะสอน ทั้งทีเป็นพื้นบ้าน ระบําชนเผ่า และนาฏศิลป์ สากล ดนตรี การขับร้องก็เช่นกัน สอนทังในแนวพื้นฐานและ แนวสากล

นาฏศิลป์ประเทศกัมพู ชา (เขมร)

นาฏศิลป์ เขมรนับได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ ชั้นสูง (Classical Dance) มีต้นกําเนิดมาจากที่ใดยังไม่มีข้อสรุป ผู้เชี่ยวชาญบางกล่าวว่ามาจากอินเดียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ แต่บางท่านกล่าวว่ามีขึ้นในดินแดนเขมร-มอญ สมัยดึกดําบรรพ์ หากจะศึกษาข้อความจากศิลาจารึกก็จะเห็นได้ว่า นาฏศิลป์ ชั้นสูงนี้มีขึ้นมาประมาณ , ปี แล้ว คือ
เมื่อศตวรรษที่ 7 จากศิลาจารึกในพระตะบอง 
เมื่อศตวรรษที่ 10  จากศิลาจารึกในลพบุรี
เมื่อศตวรรษที่ 11 จากศิลาจารึกในสะด๊อกก๊อกธม
เมื่อศตวรรษที่ 12 จากศิลาจารึกในปราสาทตาพรหม
ตามความเชื่อของศาสนาพราหม์ นาฏศิลป์ ชั้นสูงต้องได้มาจากการร่ายรําของเทพธิดาไพร่ฟ้าทั้งหลายที่ รําร่ายถวายเทพเจ้าเมืองแมน

แต่สําหรับกรมศิลปากรเขมร สมัยก่อนนั้นเคยเป็นกรมละครประจําสํานักหรือเรียกว่า ละครในพระบรมราชวังซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ ต่อมา ละครในพระบรมมหาราชวังของเขมร ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมศิลปากร และในโอกาส เดียวกันก็เป็นทรัพย์สินของชาติที่มีบทบาทสําคัญทางด้านวัฒนธรรม ทําหน้าที่แสดงทั่วๆ ไปในต่างประเทศ ในปัจจุบันกรมศิลปากรและนาฏศิลป์ ชั้นสูง ได้รับความนิยมยกย่องขึ้นมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมบัติล้ำค่า ของชาติ

นาฏศิลป์เขมรที่ควรรู้จัก
1.     ประเภทของละครเขมร แบ่งออกได้ดังนี้
1.ละครเขมรโบราณ เป็นละครดังเดิม ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ต่อมาผู้แสดงหญิงได้รับคัดเลือกโดย พระเจ้า
แผ่นดินให้เป็นนางสนม ครูสอนจึงหนีออกจากเมืองไปอยู่ตามชนบท ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินจึงดูแลเรื่อง การละครและได้โอนเข้ามาเป็นของหลวง จึงเปลี่ยนชื่อว่าละครหลวง” (Lakhaon Luong) . ละครที่เรียกว่า Lakhaon Khaol เป็นละครซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์งานละครขึ้นใหม่ของบรรดา ครูผู้สอนระดับอาวุโสที่หนีไปอยู่ในชนบท การแสดงจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน . Sbek Thom แปลว่า หนังใหญ่ เป็นการแสดงทีใช้เงาของตัวหุ่นซึงแกะสลักบนหนัง
2.     ประเภทของการร่ายรํา แยกออกเป็น ประเภท ดังนี้
2.1  นาฏศิลป์ ราชสํานักเช่น
1)      รําศิริพรชัย เป็นการร่ายรําเพือประสิทธิพรชัย
2)      ระบําเทพบันเทิง เป็นระบําของบรรดาเทพธิดาทั้งหลาย
3)       ระบํารามสูรกับเมขลา เป็นระบําเกียวกับตํานานของเมขลากับรามสูร
4)       ระบําอรชุนมังกร พระอรชุนนําบริวารเหาะเทียวชมตามหาดทรายได้พบมณีเมขลาทีกําลัง เล่นน้ำอยู่ก็ร่วมมือ     กันรําระบํามังกร
5)      ระบํายีเก แพร่หลายมากในเขมร เพลงและการร่ายรําเป็นส่วนประกอบสําคัญของการแสดง ก่อนการแสดงมักมีการขับร้องระลึกถึง เจนิ
6)      ระบํามิตรภาพ เป็นระบําแสดงไมตรีจิตอันบริสุทธิต่อประชาชาติไทย
              
 2.2. นาฏศิลป์ พื้นเมือง เช่น
1) ระบําสากบันเทิง จะแสดงหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อย
2) ระบํากรับบันเทิง ระบําชุดนี้แสดงถึงความสนิทสนมในจิตใจอันบริสุทธิของหนุ่มสาวลูกทุ่ง
3) ระบํากะลาบันเทิง ตามริมน้ำโขงในประเทศกัมพูชาชาวบ้านนิยมระบํากะลามากในพิธีมงคล สมรส
4) ระบําจับปลา เป็นระบําที่ประดิษฐ์ขึนมาใหม่โดยนักศึกษากรมศิลปากร หลังจากทีได้ดู ชาวบ้านจับปลาตามท้องนา (ทีมา : สุมิตร เทพวงษ์,2541 : 156-278)

นาฏศิลป์มาเลเชีย
เป็นนาฏศิลป์ ที่มีลักษณะคล้ายกับนาฏศิลป์ ชวา ซันตน และบาหลีมาก นาฏศิลป์ ซันตนและบาหลี ก็ได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเชีย ซึ่งได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากพวกพราหมณ์ของอินเดียอีกที่หนึ่ง ต่อมาภายหลัง นาฏศิลป์ บาหลี จะเป็นระบบอิสลามมากกว่าอินเดีย เดิมมาเลเซียได้รับหนังตะลุงมาจากชวา และได้รับอิทธิพล บางส่วนมาจากอุปรากรจีน มีละครบังสวันเท่านั้นที่เป็นของมาเลเซียเอง ในราวพุทธศตวรรษที่ ถึง ชวามีอิทธิพลและครอบครองมาเลเซียตอนใต้ที่เป็นเมืองขึ้นของ สุลต่านมายาปาหิตแห่งชวา ที่มะละกานันเป็นตลาดขายเครื่องเทศทีใหญ่ที่สุดของชวา ชาวมาเลเซียใช้ภาษาพูด ถึง ภาษา คือมลายู ชวา และภาษาจีน ซึงมีทั้งแต้จิว ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง
ชาวมาเลเซียรับหนังตะลุงจากชวา แต่ก็ได้ดัดแปลงจนเป็นของมาเลเซียไป รวมทังภาษาพูดมาเลเซีย อีกด้วย นาฏศิลป์มาเลเชียทีควรรู้จัก
1 .ละครบังสวันของมาเลเซีย เป็นละครทีสันนิษฐานได้ว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษปัจจุบันนี้ เรื่องที่แสดง มักนิยมนํามาจากประวัติศาสตร์มาเลเซีย ละครบังสวันยังมีหลายคณะ ปัจจุบันนี้เหลืออยู่ คณะ ละครบังสวันเป็นละครพูดทีมีการร้องเพลงร่ายรําสลับกันไป ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง เนื้อเรื่องตัดตอน มาจากประวัติศาสตร์ของอาหรับและมาเลเซีย ปัจจุบันมักใช้เรื่องในชีวิตประจําวันของสังคมแสดง เวลาตัวละคร ร้องเพลงมีดนตรีคลอ สมัยก่อนใช้เครื่องดนตรี พื้นเมือง สมัยนีใช้เปียโน กลอง กีตาร์ ไวโอลิน แซกโซโฟน เป็นต้น ไม่มีลูกคู่ออกมาร้องเพลง การร่ายรํามีมาผสมบ้าง แต่ไม่มีความสําคัญมากนัก ตัวละครแต่งตัวตามสมัย และฐานะของตัวละครในเรื่องนั้นๆ ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ก็จะแต่งตัวมากแบบพระมหากษัตริย์ และจะแต่งหน้า แต่พองามจากธรรมชาติ แสดงบนเวที เวทีทําเป็นยกพื้น ซึ้งสร้างชั่วคราว มีการชักฉากและมีหลืบ แสดงเวลา กลางคืนและใช้เวลาแสดงเรื่องละ3 -5 ชั่วโมง
2.เมโนราทหรือมโนห์รา คือ นาฏศิลป์ ทีจัดว่าเป็นละครรํา ผู้แสดงจะต้องร่ายรําออกท่าทางตรงตาม
บทบาท ลีลาการรําอ่อนช้อยสวยงาม ละครรําแบบนี้จะพบที่รัฐกลันตันโดยเฉพาะเท่านั้นที่อื่นหาดูได้ยาก ตามประวัติศาสตร์กล่าวกันว่า ละครรําแบบนี่มีมาตังแต่สมัยอาณาจักรลิกอร์ (Ligor) ประมาณ2,000  ปี มาแล้ว การเจรจา การร้องบทในเวลาแสดงใช้ภาษามาเล ตัวละครเมโนราทใช้ผู้ชายแสดงทั้งหมด การแต่งกายของตัว ละครจะมีลักษณะแปลก คือมีการใส่หน้ากากรูปทรงแปลก ๆ หน้ากากนั้นทาสีสันฉูดฉาดบาดตาเป็นรูปหน้าคน หน้ายักษ์ หน้าปี ศาจ หน้ามนุษย์นั้นมีสีซีดๆ แลดูน่ากลัว เวลาแสดงสวมหน้ากากเต้นเข้าจังหวะดนตรี ตัวละคร คล้ายโขน นิยมแสดงเรื่องจักรๆวงศ์ๆ ส่วนละครพื้นบ้าน เครื่องดนตรีที่บรรเลงในระหว่างการแสดงคือ กลอง หน้าและกลองหน้าเดียว นอกจากนั้นมีฆ้องราว ฆ้องวง ขลุ่ย ปี

3. แมกยอง (Magyong) มีลักษณะการแสดงเป็นเรื่องราวแบบละคร คล้ายโนราห์ และหนังตะลุง ของไทย แมกยองเป็นศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อในหมู่ชาวกลันตัน ตรังกานู การแสดง จะมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า Jong Dondang จะออกมาเต้นรําเบิกโรง หลังจากนั้นก็เริ่มซึ้งเรื่องที่จะแสดงจะเกี่ยวกับวรรณคดี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น