วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561
3.3 นาฏศิลป์ สากลเพือนบ้านของไทย
เรื่องที่ 3 นาฏศิลป์ สากลเพื่อนบ้านของไทย
ประเทศในกลุ่มทวีปเอเชีย ซึ่งมีวัฒนธรรมประจําชาติ ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ ตลอดทั้งเป็น สื่อสัมพันธ์อันดีกับชาติต่าง ๆ ลักษณะของนาฏศิลป์ ของชาติเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นประเทศพม่า ลาว
กัมพูชา มาเลเชีย จีน ธิเบต เกาหลี และญี่ปุ่น
มักจะเน้นในเรืองลีลาความสวยงามเกือบทุกเรื่อง ไม่เน้นจังหวะการใช้เท้า มากนัก ซึ่งแตกต่างจากนาฏศิลป์ ของตะวันตกที่มักจะเน้นหนักในลีลาจังหวะที่รุกเร้า ประกอบการเต้นที่รวดเร็ว และคล่องแคล่ว
นาฏศิลป์ ของชาติเพื่อนบ้านที่ควรเรียนรู้ได้แก่ ประเทศดังต่อไปนี้
1. นาฏศิลป์
ประเทศพม่า
2. นาฏศิลป์ ประเทศลาว
3. นาฏศิลป์ ประเทศกัมพูชา (เขมร)
4. นาฏศิลป์ ประเทศมาเลเชีย
5. นาฏศิลป์ ประเทศอินโดนีเซีย
6. นาฏศิลป์ ประเทศอินเดีย
7. นาฏศิลป์ ประเทศจีน
8. นาฏศิลป์ ประเทศทิเบต
9. นาฏศิลป์ ประเทศเกาหลี
10. นาฏศิลป์ ประเทศญี่ปุ่น
นาฏศิลป์ประเทศพม่า
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 พม่าได้รับอิทธิพลนาฏศิลป์ไปจากไทย
ก่อนหน้านี้นาฏศิลป์ ของพม่าเป็นแบบพื้นเมืองมากกว่าที่จะได้รับอิทธิพลมาจากภายนอกประเทศเหมือนประเทศอื่นๆ นาฏศิลป์ พม่าเริ่มต้น จากพิธีการทางศาสนา
ต่อมาเมื่อพม่าติดต่อกับอินเดียและจีน ท่าร่ายรําของสองชาติดังกล่าวก็มีอิทธิพลแทรกซึม ในนาฏศิลป์ พืนเมืองของพม่า แต่ท่าร่ายรําเดิมของพม่านั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
ไม่มีความเกี่ยวข้อง กับเรื่องรามายณะหรือมหาภารตะเหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ
นาฏศิลป์ และการละครในพม่านั้น แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ
1. ยุคก่อนนับถือพระพุทธศาสนา เป็นยุคของการนับถือผี
การฟ้อนรําเป็นไปในการทรงเจ้าเข้าผี บูชาผี และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาก็มีการฟ้อนรําในงานพิธีต่างๆเช่น โกนจุก เป็นต้น
2. ยุคนับถือพระพุทธศาสนา
พม่านับถือพระพุทธศาสนาหลังปี พ.ศ. ในสมัยนี้การฟ้อนรําเพื่อบูชา ผีก็ยังมีอยู่ และการฟ้อนรํากลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในพระพุทธศาสนาด้วย หลังปี พ.ศ.1559 เกิดมีการละครแบบหนึ่ง เรียกว่า “นิพัทขิน” เป็นละครเร่ แสดงเรื่องพุทธประวัติเพื่อ เผยแพร่ความรู้ในพระพุทธศาสนา
เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย
3. ยุคอิทธิพลละครไทย
หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ.2310 ชาวไทยถูกกวาดต้อนไปเป็น เชลยจํานวนมาก พวกละครและดนตรีถูกนําเข้าไปไว้ในพระราชสํานัก
จึงเกิดความนิยมละครแบบไทยขึ้น ละคร แบบพม่ายุคนี้เรียกว่า “โยธยาสัตคยี” หรือละครแบบโยธยา
ท่ารํา ดนตรี และเรื่องที่แสดงร่วมทั้งภาษาที่ใช้ก็เป็น ของไทย
มีการแสดงอยู่ เรือง คือ
รามเกียรติ เล่นแบบโขน และอิเหนา เล่นแบบละครใน
ในปี พ.ศ.2328 เมียวดี
ข้าราชการสํานักพม่าได้คิดละครแบบใหม่ขึ้นชื่อเรื่อง “อีนอง”
ซึงมีลักษณะ ใกล้เคียง กับอิเหนามาก ที่แปลกออกไปคือ ตัวละครของเรื่องมีลักษณะเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญที่มี่กิเลส มีความดีความชั่ว ละครเรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดละครในแนวนี้ขึ้นอีกหลายเรื่อง ต่อมาละครในพระราชสํานักเสื่อมความนิยมลง เมื่อกลายเป็นของชาวบ้านก็ค่อยๆ
เสื่อมลงจนกลายเป็น ของน่ารังเกียจเหยียดหยาม แต่ละครแบบนิพัทขินกลับเฟื่องฟูขึ้น แต่มีการลดมาตรฐานลงจนกลายเป็นจําอวด เมื่อประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว ในปี พ.ศ.2428 ละครหลวงและละครพื้นเมืองซบเซา ต่อมามีการนําละครที่นําแบบอย่างมาจากอังกฤษเข้าแทนที่ ถึงสมัยปัจจุบันละครคู่บ้านคู่เมืองของพม่าหาชมได้ ยากและรักษาของเดิมไว้ไม่ค่อยจะได้ ไม่มีการฟื้นฟูกัน เนื่องจากบ้านเมืองไม่อยู่ในสภาพสงบสุข นาฏศิลป์ประเทศลาว ลาวเป็นประเทศหนึ่งทีมีโรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติ ก่อกําเนิดมาตังแต่ปี พ.ศ.2501 โดย Blanchat
de la Broche และเจ้าเสถียนนะ จําปาสัก ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ การสอนหนักไปแนวทางพื้นบ้าน (ศิลปะ ประจําชาติ)
ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2518 ได้เข้าร่วมกับโรงเรียนศิลปะดนตรีของเท้าประเสิด
สีสาน มีชื่อใหม่ ว่า “โรงเรียนศิลปะดนตรีแห่งชาติ” ขึ้นอยู่กับกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม มีครู คน นักเรียน คน เรียนจบได้ประกาศนียบัตรชั้นกลาง ผู้มีความสามารถด้านใดเป็นพิเศษจะได้รับการส่งเสริมให้เรียนต่อใน ต่างประเทศ หรือทําหน้าที่เป็นครูหรือนักแสดงต่อไป วิชาทีเปิดสอนมีนาฏศิลป์
ดนตรี ขับร้อง นาฏศิลป์ จะสอน ทั้งทีเป็นพื้นบ้าน ระบําชนเผ่า และนาฏศิลป์ สากล ดนตรี การขับร้องก็เช่นกัน
สอนทังในแนวพื้นฐานและ แนวสากล
นาฏศิลป์ประเทศกัมพู ชา (เขมร)
นาฏศิลป์ เขมรนับได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ ชั้นสูง (Classical
Dance) มีต้นกําเนิดมาจากที่ใดยังไม่มีข้อสรุป ผู้เชี่ยวชาญบางกล่าวว่ามาจากอินเดียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ
แต่บางท่านกล่าวว่ามีขึ้นในดินแดนเขมร-มอญ สมัยดึกดําบรรพ์
หากจะศึกษาข้อความจากศิลาจารึกก็จะเห็นได้ว่า นาฏศิลป์ ชั้นสูงนี้มีขึ้นมาประมาณ
, ปี แล้ว คือ
เมื่อศตวรรษที่ 7 จากศิลาจารึกในพระตะบอง
เมื่อศตวรรษที่ 10 จากศิลาจารึกในลพบุรี
เมื่อศตวรรษที่ 11 จากศิลาจารึกในสะด๊อกก๊อกธม
เมื่อศตวรรษที่ 12 จากศิลาจารึกในปราสาทตาพรหม
ตามความเชื่อของศาสนาพราหม์
นาฏศิลป์ ชั้นสูงต้องได้มาจากการร่ายรําของเทพธิดาไพร่ฟ้าทั้งหลายที่ รําร่ายถวายเทพเจ้าเมืองแมน
แต่สําหรับกรมศิลปากรเขมร สมัยก่อนนั้นเคยเป็นกรมละครประจําสํานักหรือเรียกว่า
“ละครใน” พระบรมราชวังซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ ต่อมา “ละครใน” พระบรมมหาราชวังของเขมร ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมศิลปากร และในโอกาส เดียวกันก็เป็นทรัพย์สินของชาติที่มีบทบาทสําคัญทางด้านวัฒนธรรม ทําหน้าที่แสดงทั่วๆ ไปในต่างประเทศ ในปัจจุบันกรมศิลปากรและนาฏศิลป์ ชั้นสูง ได้รับความนิยมยกย่องขึ้นมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมบัติล้ำค่า ของชาติ
นาฏศิลป์เขมรที่ควรรู้จัก
1.
ประเภทของละครเขมร
แบ่งออกได้ดังนี้
1.ละครเขมรโบราณ เป็นละครดังเดิม ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ต่อมาผู้แสดงหญิงได้รับคัดเลือกโดย พระเจ้า
แผ่นดินให้เป็นนางสนม ครูสอนจึงหนีออกจากเมืองไปอยู่ตามชนบท
ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินจึงดูแลเรื่อง การละครและได้โอนเข้ามาเป็นของหลวง
จึงเปลี่ยนชื่อว่า “ละครหลวง” (Lakhaon Luong) . ละครที่เรียกว่า Lakhaon Khaol เป็นละครซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์งานละครขึ้นใหม่ของบรรดา ครูผู้สอนระดับอาวุโสที่หนีไปอยู่ในชนบท การแสดงจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน
. Sbek Thom แปลว่า หนังใหญ่ เป็นการแสดงทีใช้เงาของตัวหุ่นซึงแกะสลักบนหนัง
2.
ประเภทของการร่ายรํา แยกออกเป็น ประเภท ดังนี้
2.1 นาฏศิลป์ ราชสํานักเช่น
1)
รําศิริพรชัย เป็นการร่ายรําเพือประสิทธิพรชัย
2)
ระบําเทพบันเทิง เป็นระบําของบรรดาเทพธิดาทั้งหลาย
3)
ระบํารามสูรกับเมขลา
เป็นระบําเกียวกับตํานานของเมขลากับรามสูร
4)
ระบําอรชุนมังกร
พระอรชุนนําบริวารเหาะเทียวชมตามหาดทรายได้พบมณีเมขลาทีกําลัง เล่นน้ำอยู่ก็ร่วมมือ กันรําระบํามังกร
5)
ระบํายีเก แพร่หลายมากในเขมร เพลงและการร่ายรําเป็นส่วนประกอบสําคัญของการแสดง ก่อนการแสดงมักมีการขับร้องระลึกถึง “เจนิ”
6)
ระบํามิตรภาพ
เป็นระบําแสดงไมตรีจิตอันบริสุทธิต่อประชาชาติไทย
2.2. นาฏศิลป์ พื้นเมือง เช่น
1) ระบําสากบันเทิง จะแสดงหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อย
2) ระบํากรับบันเทิง ระบําชุดนี้แสดงถึงความสนิทสนมในจิตใจอันบริสุทธิของหนุ่มสาวลูกทุ่ง
3) ระบํากะลาบันเทิง ตามริมน้ำโขงในประเทศกัมพูชาชาวบ้านนิยมระบํากะลามากในพิธีมงคล สมรส
4) ระบําจับปลา
เป็นระบําที่ประดิษฐ์ขึนมาใหม่โดยนักศึกษากรมศิลปากร หลังจากทีได้ดู ชาวบ้านจับปลาตามท้องนา (ทีมา : สุมิตร เทพวงษ์,2541 : 156-278)
นาฏศิลป์มาเลเชีย
เป็นนาฏศิลป์ ที่มีลักษณะคล้ายกับนาฏศิลป์ ชวา ซันตน และบาหลีมาก นาฏศิลป์ ซันตนและบาหลี ก็ได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเชีย
ซึ่งได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากพวกพราหมณ์ของอินเดียอีกที่หนึ่ง
ต่อมาภายหลัง นาฏศิลป์
บาหลี จะเป็นระบบอิสลามมากกว่าอินเดีย เดิมมาเลเซียได้รับหนังตะลุงมาจากชวา
และได้รับอิทธิพล บางส่วนมาจากอุปรากรจีน มีละครบังสวันเท่านั้นที่เป็นของมาเลเซียเอง ในราวพุทธศตวรรษที่ ถึง ชวามีอิทธิพลและครอบครองมาเลเซียตอนใต้ที่เป็นเมืองขึ้นของ สุลต่านมายาปาหิตแห่งชวา ที่มะละกานันเป็นตลาดขายเครื่องเทศทีใหญ่ที่สุดของชวา ชาวมาเลเซียใช้ภาษาพูด ถึง ภาษา คือมลายู ชวา และภาษาจีน ซึงมีทั้งแต้จิว ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง
ชาวมาเลเซียรับหนังตะลุงจากชวา
แต่ก็ได้ดัดแปลงจนเป็นของมาเลเซียไป รวมทังภาษาพูดมาเลเซีย อีกด้วย นาฏศิลป์มาเลเชียทีควรรู้จัก
1 .ละครบังสวันของมาเลเซีย เป็นละครทีสันนิษฐานได้ว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษปัจจุบันนี้ เรื่องที่แสดง มักนิยมนํามาจากประวัติศาสตร์มาเลเซีย
ละครบังสวันยังมีหลายคณะ ปัจจุบันนี้เหลืออยู่ คณะ ละครบังสวันเป็นละครพูดทีมีการร้องเพลงร่ายรําสลับกันไป ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง เนื้อเรื่องตัดตอน มาจากประวัติศาสตร์ของอาหรับและมาเลเซีย
ปัจจุบันมักใช้เรื่องในชีวิตประจําวันของสังคมแสดง เวลาตัวละคร ร้องเพลงมีดนตรีคลอ สมัยก่อนใช้เครื่องดนตรี พื้นเมือง สมัยนีใช้เปียโน กลอง กีตาร์ ไวโอลิน แซกโซโฟน เป็นต้น
ไม่มีลูกคู่ออกมาร้องเพลง การร่ายรํามีมาผสมบ้าง แต่ไม่มีความสําคัญมากนัก
ตัวละครแต่งตัวตามสมัย และฐานะของตัวละครในเรื่องนั้นๆ ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ก็จะแต่งตัวมากแบบพระมหากษัตริย์ และจะแต่งหน้า แต่พองามจากธรรมชาติ แสดงบนเวที เวทีทําเป็นยกพื้น ซึ้งสร้างชั่วคราว มีการชักฉากและมีหลืบ
แสดงเวลา กลางคืนและใช้เวลาแสดงเรื่องละ3 -5 ชั่วโมง
2.เมโนราทหรือมโนห์รา คือ นาฏศิลป์
ทีจัดว่าเป็นละครรํา ผู้แสดงจะต้องร่ายรําออกท่าทางตรงตาม
บทบาท ลีลาการรําอ่อนช้อยสวยงาม ละครรําแบบนี้จะพบที่รัฐกลันตันโดยเฉพาะเท่านั้นที่อื่นหาดูได้ยาก ตามประวัติศาสตร์กล่าวกันว่า ละครรําแบบนี่มีมาตังแต่สมัยอาณาจักรลิกอร์
(Ligor) ประมาณ2,000 ปี มาแล้ว การเจรจา
การร้องบทในเวลาแสดงใช้ภาษามาเล ตัวละครเมโนราทใช้ผู้ชายแสดงทั้งหมด การแต่งกายของตัว ละครจะมีลักษณะแปลก
คือมีการใส่หน้ากากรูปทรงแปลก ๆ หน้ากากนั้นทาสีสันฉูดฉาดบาดตาเป็นรูปหน้าคน หน้ายักษ์ หน้าปี ศาจ หน้ามนุษย์นั้นมีสีซีดๆ แลดูน่ากลัว
เวลาแสดงสวมหน้ากากเต้นเข้าจังหวะดนตรี ตัวละคร คล้ายโขน
นิยมแสดงเรื่องจักรๆวงศ์ๆ ส่วนละครพื้นบ้าน เครื่องดนตรีที่บรรเลงในระหว่างการแสดงคือ กลอง หน้าและกลองหน้าเดียว นอกจากนั้นมีฆ้องราว ฆ้องวง ขลุ่ย
ปี
3. แมกยอง (Magyong)
มีลักษณะการแสดงเป็นเรื่องราวแบบละคร
คล้ายโนราห์ และหนังตะลุง ของไทย แมกยองเป็นศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อในหมู่ชาวกลันตัน ตรังกานู การแสดง จะมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า Jong
Dondang จะออกมาเต้นรําเบิกโรง หลังจากนั้นก็เริ่มซึ้งเรื่องที่จะแสดงจะเกี่ยวกับวรรณคดี
2.2 ดนตรีสากลประเภทต่างๆ
2.2 เรื่องที่ ดนตรีสากลประเภทต่างๆ
เพลงประเภทต่างๆ แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีสากลได ้ 6 ประเภท ดังนี้ 1. เพลงทีบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ( Orchestra ) มีดังนี้ - ซิมโฟนี (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทังวง คำว่า Sonata หมายถึง เพลงเดียวของเครืองดนตรีชนิดต่างๆ เช่นเพลงของไวโอลิน เรียกว่า Violin Sonata เครื่องดนตรีชนิดอืน ๆ ก็เช่นเดียวกนั การนำเอาเพลง โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า ซิมโฟนี - คอนเซอร์โต ( Concerto) คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี แทนที่จะมีเพลงเดียว แต่อย่างเดียว หรือบรรเลงพร้อมๆนักไปในขณะเดียวกันนัก เครื่องดนตรีที่แสดงการเดียวนั้น ส่วนมากใช้ไวโอลิน หรือเปียโน - เพลงเบ็ดเตล็ด เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง
3. สําหรับเดียว เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า เพลงโซนาตา 4. โอราทอริโอ (Oratorio) และแคนตาตา (Cantata) เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา
วงโอราทอริโอ
5. โอเปรา (Opera) หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ
6. เพลงที่ขับร้องโดยไป เช่น เพลงที่ร้องเดียว ร้องหมู่ หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา วงคอมโบ ( Combo) หรือวงชาโดว์ (Shadow ) ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป
ประเภทของเครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีสากลมีมากมายหลายประเภท แบ่งตามหลักในการทําเสียงหรือวิธีการบรรเลง เป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1.เครื่องสาย เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือน โดยสายที่ใช้จะเป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ 1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา
. เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ 1) จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลุต
2) จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน
3. เครื่องเป่าโลหะ เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมให้ผ่านริมฝีปากไปปะทะกับช่องที่เป่า ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน เป็นต้น
4. เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิมนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดี้ยน คีย์บอร์ด ไฟฟ้า อิเล็คโทน
5. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 5.1) เครื่องตีประเภททำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
5.2) เครื่องตีประเภททำจังหวะ ไดแ้ก่ กลองทิมปานี กลองใหญ่ กลองแต็ก ทอมบา กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก
กิจกรรม ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและร่วมกันสืบค้นหาเครืองดนตรีสากลทุกประเภทๆ ละ - ชนิด แล้วเก็บ รวบรวม ไวใ้นแฟ้มสะสมงาน
เพลงประเภทต่างๆ แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีสากลได ้ 6 ประเภท ดังนี้ 1. เพลงทีบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ( Orchestra ) มีดังนี้ - ซิมโฟนี (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทังวง คำว่า Sonata หมายถึง เพลงเดียวของเครืองดนตรีชนิดต่างๆ เช่นเพลงของไวโอลิน เรียกว่า Violin Sonata เครื่องดนตรีชนิดอืน ๆ ก็เช่นเดียวกนั การนำเอาเพลง โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า ซิมโฟนี - คอนเซอร์โต ( Concerto) คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี แทนที่จะมีเพลงเดียว แต่อย่างเดียว หรือบรรเลงพร้อมๆนักไปในขณะเดียวกันนัก เครื่องดนตรีที่แสดงการเดียวนั้น ส่วนมากใช้ไวโอลิน หรือเปียโน - เพลงเบ็ดเตล็ด เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง
วงออร์เคสตร้า
2. เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค ( Chamber Music ) เป็นเพลงสั้นๆ ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง ใช้เครืองดนตรีประเภทเครื่องสาย คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล
วงแชมเบอร์มิวสิค
3. สําหรับเดียว เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า เพลงโซนาตา 4. โอราทอริโอ (Oratorio) และแคนตาตา (Cantata) เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา
วงโอราทอริโอ
5. โอเปรา (Opera) หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ
6. เพลงที่ขับร้องโดยไป เช่น เพลงที่ร้องเดียว ร้องหมู่ หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา วงคอมโบ ( Combo) หรือวงชาโดว์ (Shadow ) ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป
ประเภทของเครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีสากลมีมากมายหลายประเภท แบ่งตามหลักในการทําเสียงหรือวิธีการบรรเลง เป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1.เครื่องสาย เครื่องดนตรีประเภทนี้ ทำให้เกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือน โดยสายที่ใช้จะเป็นสายโลหะหรือสายเอ็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย แบ่งตามวิธีการเล่นเป็น 2 จำพวก คือ 1) เครื่องดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ ฮาร์ป
แบนโจ
2) เครื่องสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา
วิโอลา
. เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งตามวิธีทำให้เกิดเสียงเป็น 2 ประเภท คือ 1) จำพวกเป่าลมผ่านช่องลม ได้แก่ เรคอร์เดอร์ ปิคโคโล ฟลุต
ปิคโคโล
2) จำพวกเป่าลมผ่านลิ้น ได้แก่ คลาริเน็ต แซกโซโฟน
คลาริเน็ต
ทรัมเป็ต
4. เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เครื่องดนตรีประเภทนี้เล่นโดยใช้นิ้วกดลงบนลิมนิ้วของเครื่องดนตรี ได้แก่ เปียโน เมโลเดี้ยน คีย์บอร์ด ไฟฟ้า อิเล็คโทน
เมโลเดียน
5. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 5.1) เครื่องตีประเภททำนอง ได้แก่ ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
5.2) เครื่องตีประเภททำจังหวะ ไดแ้ก่ กลองทิมปานี กลองใหญ่ กลองแต็ก ทอมบา กลองชุด ฉาบ กรับ ลูกแซก
กลองทิมปานี
กิจกรรม ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและร่วมกันสืบค้นหาเครืองดนตรีสากลทุกประเภทๆ ละ - ชนิด แล้วเก็บ รวบรวม ไวใ้นแฟ้มสะสมงาน
1.1 จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง
เรืองที่ 1 จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง
เรืองที่ 2 ทัศนศิลป์สากล
เรืองที่ 3 การวิพากษ์วิจารณ์งานทัศนศิลป์
เรืองที่ 4 ความงามตามธรรมชาติ
เรืองที่ 5 ความงามตามทัศนศิลป์สากล
เรืองที่ 6 ธรรมชาติกับทัศนศิลป์
เรืองที่ 7 ความคิดสร้างสรรค ์การตกแต่งร่างกาย และที่อยู่อาศัย
3.2 สุนทรียะทางนาฏศิลป์
เรืองที่ 2 สุนทรียะทางนาฏศิลป์
ความหมายสุนทรียะทางนาฏศิลป์
สุนทรียะ (Aesthetic) หมายถึง ความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งสวยงาม รูปลักษณะอันประกอบด้วยความสวยงาม (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 : 541)
นอกจากนียังมีผู้ให้ความหมายของคําว่า “สุนทรียะ” ไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
*หลวงวิจิตรวาทการ ได้อธิบายความหมายไว้ว่า ความรู้สึกธรรมดาของคนเรา ซึ่งรู้จักคุณค่าของวัตถุที่ งามความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเสียงและถ้อยคําไพเราะ ความรู้สึกความงามที่เป็นสุนทรียภาพนี้ย่อมเป็นไป ตามอุปนิสัยการอบรมและการศึกษาของบุคคล ซึ่งรวมเรียนว่า รส (Taste) ซึ่งความรู้สึกนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนปรนปรือในการอ่าน การฟัง และการพินิจดูสิ่งที่งดงามไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือศิลปะ (หลวงวิจิตรวาทการ 2515 : 7 – 12 )
*อารี สุทธิพันธุ์ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ “สุนทรียศาสตร์” ไว้ 2 ประการ ดังนี้
1 . วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ของมนุษย์ ซึงทําให้มนุษย์เกิดความเบิกบานใจ อิ มเอมโดยไม่หวังผลตอบแทน
2. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกแขนง นําข้อมูลมาจัดลําดับเพื่อนเสนอแนะให้เห็นคุณค่า ซาบซึ้งในสิ่งที่แอบแฝงซ้อนเร้น เพื่อสร้างความนิยมชมชื่นร่วมกัน ตามลักษณะรูปแบบของผลงานนั้น ๆ (อารี สุทธิพันธุ์,2534 : 82)
ความหมายของคําว่า “สุนทรียะ” หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีความซาบซึ้ง และเห็นคุณค่าในสิ่ง ดีงาม และไพเราะจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีต ซึ่งมนุษย์ สัมผัสและรับรู้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนเกิดความพึงพอใจ ความประทับใจและทําให้เกิดความสุขจากสิ่งที่ตนได้ พบเห็นและสัมผัส
ความหมายของคําว่า “นาฏศิลป์ ” หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา (พจนานุกรมฉบับเฉลิม พระเกียรติ พ.ศ.2534 :279 ) นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคําว่า “นาฏศิลป์ ” ไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
*ธนิต อยู่โพธิ์ ได้แปลคําว่า “นาฏศิลป์ ” ไว้ว่า คือความชํ่าชองในการละครฟ้อนรําด้วยมีความเห็นว่าผู้ที่ มีศิลปะที่เรียกว่า ศิลปินจะต้องเป็นผู้มีฝีมือมีความชํ่าชองชํานาญในภาคปฏิบัติให้ดีจริง ๆ (ธนิต อยู่โพธิ์ 2516 :1 )
ความหมายของคําว่า “นาฏศิลป์ ” ที่ได้กล่าวมานัน สรุปได้ว่า หมายถึงศิลปะในการฟ้อนรําที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติและจากความคํานึงด้วยความประณีตงดงาม มีความวิจิตรบรรจง นาฏศิลป์ นอกจาก จะหมายถึงท่าทางแสดงการฟ้ อนรําแล้ว ยังประกอบด้วยการขับร้องทีเรียกว่า คีตศิลป์ และการบรรเลงดนตรีคือ “ดุริยางคศิลป์ ” เพื่อให้ศิลปะการฟ้อนรํานั้นงดงามประทับใจ “สุนทรียะทางนาฏศิลป์ สากล” จึงหมายถึง ความวิจิตรงดงามของการแสดงนาฏศิลป์ สากล ซึ่งประกอบ ไปด้วย ระบํา รํา ฟ้อน ละคร อันมีลีลาท่ารําและการเคลื่อนไหวที่ประกอบดนตรี บทร้องตามลักษณะและ ชนิดของการแสดงแต่ละประเภท
พื้นฐานความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกัน ทั้งที่เป็นการแสดงในรูปแบบของการฟ้อนรําและการแสดง ในรูปแบบของละคร แต่ละประเภทจึงแตกต่างกัน ดังนี้
1. นาฏศิลป์ทีแสดงในรูปแบบของการฟ้อนรํา เกิดจากสัญชาตญาณดังเดิมของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ในโลก เมื่อมีความสุขหรือความทุกข์ก็แสดงกิริยาอาการออกมาตามอารมณ์และความรู้สึกนั้น ๆ โดยแสดงออก ด้วยกิริยาท่าทางเคลื่อนไหว มือ เท้า สีหน้า และดวงตาที่เป็นไปตามธรรมชาติ รากฐานการเกิดนาฏศิลป์ ใน รูปแบบของการฟ้อนรําพัฒนาขึ้นมาเป็นลําดับ ดังนี้
1.1 เพือใช้เป็นพิธีกรรมทางศาสนา มนุษย์เชื่อว่ามีผู้ดลบันดาลให้เกิดความวิบัติต่าง ๆ หรือเชื่อว่ามี ผู้ที่สามารถบันดาลความสําเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองให้กับชีวิตของตน ซึ่งอาจเป็นเทพเจ้าหรือปิ ศาจตามความเชื่อ ของแต่ละคนจึงมีการเต้นรําหรือฟ้อนรํา เพื่อเป็นการอ้อนวอนหรือบูชาต่อผู้ที่ตนเชื่อว่ามีอํานาจดังกล่าว สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพฯ ได้อธิบายในหนังสือตําราฟ้อนรําว่า ชาติโบราณทุกชนิด ถือการเต้นรําหรือฟ้อนรําเป็นประจําชีวิตของทุกคน และยังถือว่าการฟ้อนรําเป็นพิธีกรรมทางศาสนาด้วย สําหรับประเทศอินเดียนั้นมีตําราฟ้อนรําฝึกสอนมาแต่โบราณกาล เรียกว่า “คัมภีร์นาฏศิลป์ ศาสตร์”
1.2 เพื่อใช้ในการต่อสู้และการทําสงคราม เช่น ตําราคชศาสตร์ เป็นวิชาชั้นสูง สําหรับการทํา สงครามในสมัยโบราณ ผู้ที่จะทําสงครามบนหลังช้างจําเป็นต้องฝึกหัดฟ้อนรําให้เป็นที่สง่างามด้วย แม้แต่ พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องทรงฝึกหัดการฟ้อนรําบนหลังช้างในการทําสงครามเช่นกัน
1.3 เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง การพักผ่อนหย่อนใจเป็นความต้องการของมนุษย์ ในเวลาว่างจาก การทํางานก็จะหาสิ่งที่จะทําให้ตนและพรรคพวกได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินคลายความเหน็ดเหนื่อย เนื่องจากการร้องรําทําเพลงเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ดังนั้นจึงมีการรวมกลุ่มกันร้องเพลงและ ร่ายรําไปตามความพอใจของพวกตน ซึ่งอาจมีเนื้อร้องที่มีสําเนียงภาษาของแต่ละท้องถิ่น และท่วงทํานองเพลง ที่เป็นไปตามจังหวะประกอบท่าร่ายรําแบบง่าย ๆ ซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนเกิดเป็นการแสดงนาฏศิลป์ รูปแบบของ การฟ้อนรําของแต่ละท้องถิ่นเรียกว่า “รําพื้นเมือง”
2 . นาฏศิลป์ที่แสดงในรูปแบบของละคร มีรากฐานมาจากความต้องการของมนุษย์ที่่จะถ่ายทอด ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับมนุษย์ที่เป็นความประทับใจ ซึ่งสมควรแก่การจดจํา หรืออาจมี วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ ศาสนาและสอนศีลธรรม เพราะการสร้างในรูปแบบของละคร เป็นวิธีการที่ง่ายต่อความเข้าใจแต่ยากที่จะใช้การเผยแพร่และอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการอื่น จึงมีการสร้างเรื่องราว หรือบันทึกเหตุการณ์อันน่าประทับใจและมีคุณค่านั้นไว้เป็นประวัติศาสตร์ในรูปแบบของการแสดงละคร เพราะเชื่อว่าการแสดงละครเป็นวิธีหนึ่งของการสอนคติธรรม โดยบุคลาธิษฐานในเชิงอุปมาอุปมัย อาจกล่าวได้ว่ารากฐานการเกิดของนาฏศิลป์ ไทยตามข้อสันนิษฐานที่ได้กล่าวมานั้นทั้งการแสดงใน รูปแบบของการฟอนรํา และการแสดงในรูปแบบของการละครได้พัฒนาขึ้นตามลําดับ จนกลายเป็นแบบแผน ของการแสดงนาฏศิลป์ ไทยทีมีความเป็นเอกลักษณ์เด่นชัด
3.1 นาฏยนิยาม
เรื่องที่ 1 นาฏยนิยาม
นาฏยนิยาม หมายถึง คําอธิบาย คําจํากัดความ ขอบเขต บทบาท และรูปลักษณ์ของนาฏศิลป์ ซึ้งล้วน แสดงความหมายของนาฏยศิลป์ ทีหลากหลาย อันเป็นเครืองบ่งชีว่านาฏยศิลป์ มีความสําคัญ เกี่ยวข้องกับชีวิต และสังคมมาตัังแต่อดีตกาล
นิยาม
ในส่วนนี้เป็นการกล่าวถึง ความหมายของนาฏยศิลป์ หรือการฟ้อนรําที่ปราชญ์และนักวิชาการสําคัญได้ พยายามอธิบายคําว่า นาฏยศิลป์ ไว้ในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงกําเนิดและวิวัฒนาการของ นาฏยศิลป์ ที่ผูกพันกับมนุษย์ ดังนี้
“การฟ้อนรําเป็นประเพณี ของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ไม่เลือกว่าจะอยู่ ณ ประเทศถิ่นสถานที่ใด ในพิภพนี้ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ถึงแม้สัตว์เดรัจฉานก็มีวิธีฟ้อน เช่น สุนัข ไก่กา เวลาใดสบอารมณ์ มันก็จะเต้น โลดกรีดกรายทํากิริยาท่าทางได้ต่าง ๆ ก็คือการฟ้อนรําตามวิสัยสัตว์นั้นเอง ปราชญ์แห่งการฟ้อนรําจึงเล็งเห็น การฟ้อนรํานี้มูลรากเกิดแต่วิสัยสัตว์เมือเวทนาเสวยอารมณ์ จะเป็นสุขเวทนาก็ตามหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าเสวยอารมณ์แรงกล้าไม่กลันไว้ได้ ก็แล่นออกมาเป็ นกิริยาให้เห็นปรากฏยกเป็ นนิทัศนอุทาหรณ์ดังเช่น ธรรมดาทารก เวลาอารมณ์เสวยสุขเวทนาก็เต้นแร้งเต้นแฉ่งสนุกสนาน ถ้าอารมณ์เสวยทุกขเวทนาก็ดิ นโดยให้ แสดงกิริยาปรากฏออกให้รู้ว่าอารมณ์เป็ นอย่างไร ยิงเติบโตรู้เดียงสาขึ้นเพียงไร กิริยาทีอารมณ์เล่นออกมาก็ยิ่ง มากมายหลายอย่างออกไป จนถึงกิริยาที่แสดงความกําหนัดยินดีในอารมณ์ และกิริยาซึ้งแสดงความอาฆาต โกรธแค้น เป็นต้น กิริยาอันเกิดแต่เวทนาเสวยอารมณ์นี้นับเป็ นขั้นต้นของการฟ้อนรํา
ต่อมาอีกขั้นหนึ่งเกิดแต่คนทั้งหลายรู้ความหมายของกิริยาต่าง ๆ เช่น กล่าวมาก็ใช้กิริยาเหล่านันเป็น ภาษาอันหนึ่ง เมื่อประสงค์จะแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่นโดยใจจริงก็ดี หรือโดยมายาเช่นในเวลาเล่นหัวก็ดี ว่าตนมี อารมณ์อย่างไร ก็แสดงกิริยาอันเป็นเครื่องหมายอารมณ์อย่างนั้น เป็นต้นว่าถ้าแสดงความเสน่หา ก็ทํา กิริยายิ้มแย้มกรีดกราย จะแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจก็ขับร้องฟ้อนรํา จําขู่ให้ผู้อื่นกลัวก็ทําหน้าตาถมึงทึงแลโลดเต้น คุกคาม จึงเกิดแบบแผนท่าทางทีแสดงอารมณ์ต่าง ๆ อันเป็นต้นของกระบวนฟ้อนรําขึ้นด้วยประการนี้นับเป็น ขั้นที่สอง
อันประเพณีการฟ้อนรําจะเป็นสําหรับฝึกหัดพวกที่ประกอบการหาเลี้ยงชีพด้วยรําเต้น เช่น โขนละคร เท่านั้นหามิได้ แต่เดิมมาย่อมเป็นประเพณีสําหรับบุคคลทุกชั้นบรรดาศักดิ์และมีที่ใช้ไปจนถึงการยุทธ์และ การพิธีต่าง ๆ หลายอย่าง จะยกตัวอย่างแต่ประเพณีการฟ้อนรําที่มีมาในสยามประเทศของเรานี ดังเช่นในตําราคชศาสตร์ ซึงนับถือว่าเป็นวิชาชั้นสูงสําหรับการรณรงค์สงครามแต่โบราณ ใครหัดขี่ช้างชนก็ต้องหัดฟ้อนรํา ให้เป็นสง่าราศีด้วยแม้พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องฝึกหัด มีตัวอย่างมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาคชศาสตร์ต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ ากรมพระยาบําราบ ปรปักษ์ ก็ได้ทรงหัดฟ้อนรํา ได้ยินเคยทรงรําพระแสงขอบนคอช้างพระทีนังเป็ นพุทธบูชาเมื่อครั้งเสด็จพระพุทธบาทตามโบราณราชประเพณี เมื่อปี วอก พ.ศ. การฟ้อนรําในกระบวนยุทธอย่างอื่น เช่น ตีกระบี่กระบองก็เป็น วิชาที่เจ้านายต้องทรงฝึกหัดมาแต่ก่อน ส่วนกระบวนฟ้อนรําในการพิธี ยังมีตัวอย่างทางหัวเมืองมณฑล ภาคพายัพ ถ้าเวลามีงานบุญให้ทานเป็นการใหญ่ก็เป็นประเพณีที่เจ้านายตั้งแต่เจ้าผู้ครองนครลงมาที่จะฟ้อนรํา เป็นการแสดงโสมนัสศรัทธาในบุญทาน เจ้านายฝ่ายหญิงก็ย่อมหัดฟ้อนรําและมีเวลาทีจะหัดฟ้อนรําในการพิธี บางอย่างจนทุกวันนี้ ประเพณีต่าง ๆ ดังกล่าวมา ส่อให้เห็นว่าแต่โบราณย่อมถือว่าการฟ้อนรําเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา ซึ่งสมควรจะฝึกหัดเป็นสามัญทั่วมุกทุกชั้นบรรดาศักดิ์สืบมา
การที่ฝึกหัดคนแต่บางจําพวกให้ฟ้อนรํา ดังเช่นระบําหรือละครนั้น คงเกิดแต่ประสงค์จะใคร่ดูกระบวน ฟ้อนรํา ว่าจะงามได้ถึงทีสุดเพียงไร จึงเลือกสรรคนแต่บางเหล่าฝึกฝนให้ชํานิชํานาญเฉพาะการฟ้อนรํา สําหรับ แสดงแก่คนทั้งหลายให้เห็นว่าการฟ้อนรําอาจจะงามได้ถึงเพียงนั้น เมื่อสามารถฝึกหัดได้สมประสงค์ก็เป็นที่ต้อง ตาติดใจคนทั้งหลาย จึงเกิดมีนักรําขึ้นเป็นพวกที่หนึ่งต่างหาก แต่ที่จริงวิชาฟ้อนรําก็มีแบบแผนอันเดียวกับที่เป็น สามัญแก่คนทั้งหลายทุกชั้นบรรดาศักดิ์นั่นเอง”
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของนาฏยศิลป์ ไว้กว้าง ๆ ตลอดจนกําหนดการออกเสียงไว้ใน พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ดังนี
“นาฏ, นาฏ – [นาด, นาตะ – นาดตะ-] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ไทยใช้หมายถึง
หญิงสาวสวย
เช่น นางนาฏ นุชนาฏ (ป.; ส.)
นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละคร, การฟ้อนรํา.
นาฏดนตรี [นาดตะดนตรี] น. ลิเก.
นาฏศิลป์ [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา.
นาฏก [นาตะกะ (หลัก), นาดตะกะ (นิยม)] น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป.; ส.)
นาฏย [นาดตะยะ-] ว. เกียวกับการฟ้ อนรํา, เกียวกับการแสดงละคร (ส.)
นาฏยเวที น. พืนทีแสดงละครล ฉาก.
นาฏยศาลา น. ห้องฟ้อนรํา, โรงละคร
นาฏยศาสตร์ น. วิชาฟ้อนรํา, วิชาแสดงละคร”
หมายเหตุ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, “ประวัติการฟ้อนรํา.” ใน การละครไทย อ้างถึงใน หนังสืออ่านประกอบคํา บรรยายวิชาพื นฐานอารยธรรมไทยตอนดนตรีและนาฏศิลป์ ไทย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พระนคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2515 ) , หน้า 12 -14.
พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 . พิมพ์ครังที 3 (กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช,2531 ), หน้า279 .
ธนิต อยู่โพธิ์ ได้อธิบายความหมายของนาฏยศิลป์ ดังทีปรากฏในคัมภีร์อินเดียไว้ดังนี้
“คําว่า “นาฏย” ตามคัมภีร์อภิธานัปปทีปิ กาและสูจิ ท่านให้วิเคราะห์ศัพท์ว่า “นฏสเสตนตินาฏย” ความ ว่า ศิลปะของผู้ฟ้อนผู้รํา เรียกว่า นาฏย และให้อรรถาธิบายว่า “นจจ วาทิต คีต อิท ตุริยติก นาฏยนาเมนุจจเต” แปลว่า การฟ้ อนรํา การบรรเลง (ดนตรี) การขับร้อง หมวด แห่งตุริยะนี ท่าน (รวม) เรียกโดยชื่อว่า นาฏย ซึ่ง ตามนี้ท่านจะเห็นได้ว่า คําว่า นาฏะ หรือนาฏยะ นัน การขับร้อง หรือพูดอย่างง่าย ๆ ก็ว่าคํา “นาฏย” นั้นมี ความหมายรวมทั้งฟ้อนรําขับร้องและประโคมดนตรีด้วย ไม่ใช่มีความหมายแต่เฉพาะศิลป์ฟ้อนรําอย่างเดียว ดังที่บางท่านเข้าใจกัน แม้จะใช้คําว่าหมวด แห่งตุริยะหรือตุริยะ อย่าง แสดงให้เห็นว่าใช้คํา “ตุริยะ” หมายถึง เครื่องตีเครื่องเป่า แต่แปลงกันว่า “ดนตรี” ก็ได้ นี่ว่าตามรูปศัพท์ แท้ที่จริงแม้ในวิธีการปฏิบัติศิลปินจะรับระบํา รําฟ้อนไปโดยไม่มีดนตรีและขับร้องประกอบเรื่องและให้จังหวะไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้และไม่เป็นศิลปะ ที่สมบูรณ์ ถ้าขาดดนตรีและขับร้องเสียแล้ว แม้ในส่วนศิลปะของการฟ้อนรําเองก็ไม่สมบูรณ์ในตัวของมัน พระ ภรตมุนี ซึงศิลปินทางโขนละครพากันทําศรีษะของท่านกราบไหว้บูชา เรียกกันว่า “ศรีษะฤๅษี” นั้น มีตํานานว่า ท่านเป็นปรมาจารย์แห่งศิลปะทางโขนละครฟ้อนรํามาแต่โบราณ เมื่อท่านได้แต่งคัมภีร์นาฏยศาสตร์ขึ้นไว้ ก็มี อยู่หลายบริเฉทหรือหลายบทในคัมภีร์นาฏยศาสตร์นั้น ที่ท่านได้กล่าวถึงและวางกฎเกณฑ์ในทางดนตรีและ ขับร้องไว้ด้วย และท่านศารงคเทพผู้แต่งคัมภีร์สังคีตรัตนากรอันเป็นคัมภีร์ทีว่าด้วยการดนตรีอีกท่านหนึ่งเล่า ก็ปรากฏว่าท่านได้วางหลักเกณฑ์และอธิบายศิลปะทางการละครฟ้อนรําไว้มากมายในคัมภีร์นั้น เป็นอันว่าศิลปะ ประการ คือฟ้อนรํา ดนตรี ขับร้อง เหล่านี้ต่างต้องประกอบอาศัยกัน คําว่า นาฏยะ จึงมีความหมายรวมเอา ศิลปะ อย่างนั้นไว้ในศัพท์เดียวกัน”
4.4 นักออกแบบเสื้อผ้าแฟชัน (Fashion - Designer)
4. นักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั้น (Fashion -
Designer)
ลักษณะของงานที่ทำ
ผู้ประกอบอาชีพนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั้น จะมีหน้าที่คล้ายกับนักออกแบบเครื่องประดับหรือ
นักออกแบบเครื่องเรือน
โดยมีหน้าที่ วิเคราะห์ ศึกษาวัสดุที่นำมาออกแบบสิ่งทอ ลายผ้า และเนื้อวัสดุ
เพื่อตัด
เย็บ และวิธีการตัดเย็บ
ควบคุมการตัดเย็บให้เป็น ไปตามแบบที่ออกไว้และสามารถให้คำแนะนำในเรื่องการ
แก้ไขข้อบกพร่องของรูปร่างแต่ละบุคคลโดยมีพื้นฐานความเข้าใจในศิลปะการแต่งกายของไทยโบราณและการ
แต่งกายแบบตะวันตกยุคต่างๆ
ในการออกแบบ ตลอดจนในขั้นตอนการผลิตสามารถนำเทคนิคทางเทคโนโลยี
ที่มีต่อการสร้างงานศิลป์
มาประยุกต์ใช้โดยจะมีขั้นตอนการทำงานออกแบบให้ผู้ว่าจ้าง
ดังนี้
1. ต้องรวบรวมความคิดข้อมูล
ที่เป็นสัดส่วนจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง
2. ศึกษารูปแบบงานที่มีอยู่ถ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือดัดแปลงเพื่อลดระยะเวลาการทำงานและ
ต้นทุนการผลิต
ในเวลาเดียวกัน ต้องทำการค้นคว้าวิจัยด้วย
3. ทำการร่างแบบคร่าวๆ
โดยคุมให้อยู่ในแนวความคิดดังกล่าวให้ ได้ตามความต้องการ
4. นำภาพที่ร่าง แล้วให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา
เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิตรวมทั้งการใช้
วัตถุดิบ
และประเมินราคา
5. นำภาพร่างที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้วมาสร้างแบบ (Pattern) วิธีที่จะต้องตัดเย็บใน
รายละเอียด
ปัก กุ๊น เดินลาย
หรืออัดพลีดแล้วนำมาลงสีตามจริง เขียนภาพและอธิบายวิธีการทำให้ละเอียดและชัดเจนที่สุด
เท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อให้ช่างทำตามแบบได้
6. ส่งแบบหรือชุดที่ตัดเนาไว้ให้ฝ่ายบริหารและลูกค้า
หรือผู้ว่าจ้าง พิจารณาทดลองใส่เพื่อแก้ไข
ข้อบกพร่องขั้นสุดท้าย
7. นำแบบที่ผู้ว่าจ้างเห็นชอบทำงานประสานกับช่างตัดเย็บ
ช่างปัก เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ลูกค้าต้องการ
สภาพการจ้างงาน
สำหรับนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั้น
ที่มีความสามารถและผลงานเมื่อเริ่มทำงานกับบริษัทผลิตและ
ออกแบบเสื้อผ้าอาจได้อัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนสำหรับวุฒิการศึกษาระดับประโยควิชาชีพและประโยควิชาชีพ
ชั้นสูงหรือเทียบเท่า
อาจได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต้นเป็นเงินเดือนประมาณ 8,000
-10,000 บาท ส่วนผู้สำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี
จะได้รับเงินประมาณ
9,000 - 10,000 บาท หรืออาจมากกว่าขึ้นอยู่กับฝีมือการ
ออกแบบและประสบการณ์ของนักออกแบบแต่ละคน
มีสวัสดิการ โบนัสและสิทธิพิเศษอื่นๆ ขึ้นอยู่กับผล
ประกอบการของเจ้าของกิจการส่วนมากนักออกแบบเสื้อผ้าหรือแฟชั้น
จะมีร้านหรือใช้บ้านเป็นร้านรับออกแบบตัดเสื้อผ้าเป็นของตนเองเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระที่มีรายได้ดีสำหรับนักออกแบบประจำห้องเสื้อหรือร้านเสื้อใหญ่ๆ
หรือโรงเรียนสอนตัดเสื้อที่มีผลงานแสดงเป็นประจำนั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงและต้องมีผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการแสดงผลงานและคอลเล็คชั้น
ของตนเอง
สภาพการทำงาน
ผู้ประกอบการนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั้น
ในสถานที่ประกอบการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะปฏิบัติหน้าที่
เหมือนในสำนักสร้างสรรค์ทั่วไปที่ค่อนข้างเป็นสัดส่วน
มีอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการออกแบบ
เช่น โต๊ะเขียนแบบ
หุ่นลองเสื้อขนาดต่างๆ
ตามที่ตัดเย็บ
ผ้า กระดาษสร้างแพทเทิร์นและสีสำหรับลงสี เพื่อให้ภาพออกแบบเหมือนจริงอาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและให้สีได้เช่นกันหรือสแกนภาพที่วาดแล้วลงในคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้การนำเสนอต่อลูก
ค้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในกรณีผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปอาจมีผู้ช่วยทำงานในการสร้างแบบ(Pattern)
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้สนใจในอาชีพนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั้นควรมีคุณสมบัติทั่ว
ๆ ไปดังนี้
1. มีความคิดสร้างสรรค์
มีความชอบและรักงานด้านออกแบบ มีมุมมองเรื่องของศิลปะรักความสวยงาม
อาจมีพื้นฐานทางด้านศิลปะบ้าง
2. มีความกระตือรือร้นช่างสังเกตว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
กล้าคิดกล้าทำ กล้าที่จะถ่ายทอด
3. มีความสามารถในการถ่ายทอดความคิด
หรือแนวคิดให้ผู้อื่นฟังได้
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั้นควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่อไปนี้
คือ
ผู้ที่มีคุณสมบัติขั้นต้นดังกล่าว
สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั่นในการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า
ได้ที่โรงเรียนหรือสถาบันการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป
ซึ่งเปิดรับผู้สนใจเข้าเรียนโดยไม่จำกัด
วุฒิการศึกษาเพราะการออกแบบเสื้อผ้าขึ้นอยู่กับความริเริ่มสร้างสรรค์ประสบการณ์และการฝึกหัดสำหรับ
ผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี
นอกจากโรงเรียนหรือวิทยาลัย
สายวิชาชีพแล้วยังสามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยมีคณะศิลปกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้เปิดสาขาวิชาการ ออกแบบพัสตราภรณ์ผู้ที่เข้ารับการศึกษาในสาขาวิชาทางด้านนี้จะได้รับความรู้ในเรื่องของความรู้พื้น ฐานเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องแต่งกายของไทย
ตะวันออก และตะวันตก เพื่อสืบทอดมรดกและศิลปะสิ่งทอของไทยในท้องถิ่น
ต่างๆนอกจากนี้ ยังมีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ คณะคหกรรมศาสตร์สาขาผ้า
และเครื่องแต่งกาย
ธุรกิจเสื่อผ้า ฯลฯ
โอกาสในการมีงานทำ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถนำความรู้ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน
คือ สามารถ
ออกแบบสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมระดับต่างๆ
ได้ มีความรู้ในเรื่องการบริหารการตลาด
และการใช้เทคโนโลยี
ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในวงการแฟชั้น
ในประเทศไทยยังไม่สามารถเป็นศูนย์กลางของการออกแบบแฟชั้นได้แต่กลับเป็นศูนย์กลางของวัตถุดิบอย่างเช่นผ้าไหมและการผลิตเสื้อผ้าเพื่อการส่งออกภายใต้
ยี่ห้อสินค้าต่างประเทศและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เพราะมีค่าแรงราคาถูก อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในวงการออกแบบเสื่อ ผ้าไทยถือว่ามีความสำเร็จในระดับหนึ่งที่ การผลิตเสื่อผ้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อไทยได้มีการส่งออกไปขายในต่างประเทศบ้างแล้ว
เช่น
Fly Now หรือในเรื่องของการสนับสนุนการออกแบบลายผ้าไหมที่มีลายเป็นเอกลักษณ์และการให้สีตามทที่ลูกค้า
ในต่างประเทศต้องการ และสามารถส่งออกได้นักออกแบบแฟชั้น
ในต่างประเทศหลายสถาบันต่างก็ให้ความสนใจแนวการแต่งกาย วัฒนธรรมและการใช้ชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเอเชียมากขึ้น ดังนั้นนักออกแบบแฟชั้น
ไทยควรหันมาสนใจ วัตถุดิบในประเทศและคิดสร้างสรรค์งานที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น
เพราะแรงงานและวัตถุดิบในประเทศยังมีราคาถูกตลาดสิ่งทอไทยในต่างประเทศ
เช่น เสื้อผ้าถักสำเร็จรูป
เสื้อผ้าทอสำเร็จรูปยังมีศักยภาพในการส่งออกสูง
นอกจากนี้รัฐบาลและแนวโน้มของคนไทยกำลังอยู่ในระหว่างนิยมเลือกใช้สินค้าไทยโดยเฉพาะเสื่อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มที่ได้มาตรฐานการส่งออกนับเป็นโอกาสอันดีที่นักออกแบบแฟชั้นสามารถสร้างสรรค์งานได้เต็มที่หรือมีแนวคิดรูปแบบการสร้างสรรค์งานใหม่
หรือแนวโน้มใหม่ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในการใช้วัสดุในท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้
ขยายแหล่งวัตถุดิบเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตพยายามให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำมากที่สุด เพื่อคงต้นทุนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยไว้เผชิญกับการเปิดเสรีสิ่งทอในปี 2548 เพราะเวลานั้นผู้นำด้านการตลาด แฟชั้นและเทคโนโลยีการผลิตเท่านั้นที่สามารถจะครองตลาดสิ่งทอได้ในต่างประเทศหรือแม้แต่ตลาดเสื้อผ้าบริเวณชายแดนไทยที่คู่แข่งขันสามารถนำเสื้อผ้าเข้ามาตีตลาดไทยได้นักออกแบบแฟชั้น
จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องรักษาฐานตลาดของไทยไว้ทั้งในเชิงรุกในการผลิต
สร้างเครือข่ายทั้งระบบข้อมูล
ข่าวสาร และเครือข่ายจำหน่ายสินค้า
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนักออกแบบแฟชั้น
–นักออกแบบเสื้อผ้า (Fashion-Designer) ประสบ
ความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพก็คือการคงไว้ซึ้งการเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าหรือแฟชั้นดีไซเนอร์ไว้
ซึ่งต้องใช้
โอกาสเวลา และค่าใช้จ่ายในการผลิตและการแสดงผลงานที่มีต้นทุนต่ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
เต็มศักยภาพนักออกแบบแฟชั้น
ไม่ควรย้ำ อยู่กับที่ควรมีความคิดเชิงรุกมากกว่ารับเพียงคำสั่ง จากลูกค้า ควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและควรสร้างโอกาสให้ตนเอง
เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมศึกษาด้านการตลาด ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้
าหมายลูกค้าใหม่ เสาะหาแหล่งตลาดวัตถุดิบเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ครบวงจร
สร้างแนวโน้มแฟชั้น ศึกษารูปแบบของสินค้าจากต่างประเทศ
และข้อกีดกันทางการค้าซึ่งเป็นปัจจัยในความก้าวหน้าทันโลก
และยืนอยู่ในอาชีพได้นานและอาจสร้างผลงานที่คนไทยภูมิใจหันมาใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยนักออกแบบเสื้อผ้าไทยกันทั่ว
ประเทศ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ครู – อาจารย์ในวิชาที่เกี่ยวข้อง เจ้าของร้านหรือห้องเสื้อ เจ้าของโรงเรียนสอนออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า
นักออกแบบเครื่องประดับ
กิจกรรม
1. ให้ผู้เรียนเขียนอธิบายลักษณะอาชีพด้านการออกแบบ
ตกแต่งที่อยู่อาศัย ออกแบบเครื่องเรือน และ
ออกแบบแฟชั้น ตามที่ผู้เรียนเข้าใจ
2. ให้ผู้เรียนอธิบายถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพด้านการออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัย
ออกแบบเครื่องเรือน
และออกแบบแฟชั้น ตามที่ผู้เรียนเข้าใจ
นำคำอธิบายในข้อ 1
และ ข้อ 2 เข้าร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นในกลุ่มการเรียนของผู้เรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)